วิชาสอบวาดเส้นมัณฑนศิลป์ เป็นวิชาหลักหากใครต้องการสอบเข้าคณะมัณฑนศิลป์ ไม่ว่าจะเป็นในสาขาใดก็ตาม
โดยการเตรียมสอบที่ดี น้องๆที่ตั้งใจและมุ่งมั่นก็จะเริ่มต้นเรียนพื้นฐานตั้งแต่การฝึกฝนง่ายๆไปจนถึงการฝึกเพื่อเตรียมสอบตั้งแต่เนิ่นๆ ค่าเฉลี่ยสำหรับคนที่มีเกณฑ์การเตรียมตัวที่ดีนั้น ระยะเวลาอยู่ที่ไม่เกิน 8-12 เดือน หากเริ่มช้ากว่านี้ก็จะต้องเป็นคนที่ม่งมุ่นและฝึกฝนสม่ำเสมอ เรียกได้ว่าต้องชดเชยเวลาที่เสียไปเพื่อให้ตามเพื่อนและหลักสูตรให้ทัน
เพราะพื้นฐานสำคัญมาก หากคิดแค่ว่าเน้นเจาะข้อสอบอย่างเดียวความแน่นอนหรือความเสถียรในการทำผลงานให้สมบูรณ์นั้นจะต่ำมาก พูดง่ายๆคือ เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เพราะผู้เรียนจะขาดความเข้าใจในหลักการวาดเส้น
ในเรื่องของพื้นฐานและหลักการไล่เรียงความสำคัญตามนี้ครับ
- โครงสร้าง
- น้ำหนัก
- พื้นผิว
- ความละเอียด
1.โครงสร้าง
เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด และมีหลักในการเรียนรู้เยอะที่สุด สิ่งที่น้องๆต้องเรียนรู้มีดังนี้
– “ขนาดและสัดส่วน”
เรื่องหากผิดเพี้ยนแต่แรกภาพที่วาดไม่ว่าจะลงน้ำหนักได้ดีงานละเอียดขนาดไหน ก็จะไม่ใช่ภาพที่เราต้องการวาด เทคนิคการวัดขนาดและสัดส่วนที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญแต่แรก
– “Gravity”
ทุกสิ่งบนโลกใบนี้ทรงตัวอยู่ได้และสอดคล้องกับแรงโน้มถ่วง ทุกสิ่งตกลงพื้นทิ้งน้ำหนักเป็นเส้นดิ่งลงมา 90องศา เสมอ น้องๆควรใส่ใจในการลากเส้นแกนกลางให้ตั้งตรง นอกจากจะทำให้แบบไม่ล้มในกระดาษ ยังคอยช่วยแบ่งครึ่งช่วยเช็ค Balance ให้เราได้อีกด้วย
– “โครงสร้าง 2มิติ และ 3มิติ”
แบบ 2 มิตินั้น พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือเส้นรอบนอกของสิ่งต่างๆ หรือเส้นตัดที่เราเห็นมันง่ายๆ จุดนี้ใช้การสังเกตุล้วนๆเพื่อเทียบเคียง ยิ่งแม่นยำเท่าไหร่ก็ยิ่งช่วยให้เราทำงานในขั้นตอนต่อไปได้ง่าย เทคนิคที่ช่วยให้น้องๆแม่นยำกลับไม่ใช่การมองเส้นนั้นๆโดยตรง แต่เป็นการมองพื้นที่ว่างด้านในและด้านนอก (พื้นที่+/พื้นที่-)
แบบ 3 มิติ คือเส้นที่เรากำหนดขึ้นไม่ได้มองด้วยตาเปล่า จุดนี้ต้องใช้ความเข้าใจและแบบฝึกหัดที่ถูกต้อง เป็นเส้นที่ตัดผ่านโครงสร้างของทุกสิ่งเพื่อให้เข้าใช้ถึงระนาบวัตถุปละความนูนหรือต่ำ พูดในเข้าใจง่ายน้องๆลองนึกถึง เส้นรุ้งเส้นแวงของลูกโลก หรือเส้นใยแมงมุมที่อยู่บนตัวสไปเดอร์แมน เส้นเหล่านี้บอกปริมาตรให้กับเราได้ดีมาก หากน้องๆมองเห็นเส้นนี้บนสิ่งต่างๆเรื่องสร้างน้ำหนักก็เหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก
– “ระดับสายตา และ Perspective”
เป็นเรื่องสุดท้ายของโครงสร้างที่ควรรู้ บ่งบอกชั้นเชิงของคนวาดความเข้าใจและความลึกซึ้ง ภาพที่วาดจะมีมิติที่ดูสมจริงมากขึ้นไปอีก เก็บไว้โชว์ออฟจัดหุ่นวาดสิ่งของที่พุ่งเข้ามาที่สายตา บางครั้งข้อสอบอาจออกภาพมือถือสิ่งของ หากเราจะสามารถวาดนิ้วที่พุ่งเข้ามาในสายตาได้นี่ถือว่าเป็นการโชว์ความเก๋าในการวาด องค์ประกอบภาพจะไม่แข็งทื้อ จะดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่ถ้าไม่เข้าใจก็ให้หลีกเลี่ยงซะ เหมือนดาบสองคม ฝึกมาไม่ดีมันจะบาดตัวเองตายครับ อิอิ
2.น้ำหนัก
ในสากลอย่างยุโรปและจีนถึงขนาดต้องสร้างรูปแบบในการทำความเข้าใจเรื่องนี้ให้ชัดเจน โดยส่วนใหญ่ที่เราฝึกๆกับที่ช่วยได้จากการจดจำและสังเกตุคือ การฝึกลอกจากรูปถ่าย ช่วยเรื่องการเปรียบเทียบค่าน้ำหนักได้ดี แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมที่จะทำให้เราเกิดความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นเพียงการฝึกอย่างหนักเพื่อเพื่อทักษะการสังเกตุเพียงด้านเดียว
สิ่งที่จะช่วยย่นระยะเวลาในการฝึกอย่างหนักได้นั้นคือ “ความเข้าใจ”และ “step” การกำหนดแยกขอบเขตและโซนของ แสงและเงาออกจากกันนั้นช่วยให้น้องทำงานได้ง่ายขึ้นมาก น้องๆจะต้องเข้าใจวิเคราะห์โซนน้ำหนักของด้านแสงและเงาว่าแตกต่างกันอย่างไร เข้าใจแล้วไม่มีทางที่ภาพจะออกมาแบนหรือวูบวาบแน่นอน จะทำให้เข้าถึงธรรมชาติและบรรยากาศของภาพได้ ความสมจริง Realistic นั้นอยู่ที่ตรงนี้เลย step ที่ดียังสามารถนำไปต่อยอดสู่งาน Painting , Graphic Design และ แขนงอื่นๆที่ต้องการใช้สีได้อีกด้วยครับ
3.พื้นผิว
เคยสงสัยมั้ยว่าทำไมเราต้องฝึกวาดสิ่งของมากมายแตกต่างกันไปเพื่ออะไร แท้จริงแล้วน้องๆกำลังฝึกการสำแนกสิ่งต่างๆออกจากกันอยู่ พื้นผิวเป็นเสน่ห์อย่างนึงที่หากเราสามารถสร้างความแตกต่างออกจากกันในภาพวาดของเราได้ ภาพจะส่งผลต่อความรู้สึกคนดูได้ลึกซึ้งมากขึ้น โดยพื้นฐานแล้วมีสิ่งที่น้องๆต้องคำนึงได้ดังนี้ครับ
- ผิวเรียบ
- ผิวหยาบ
- ผิวมันเงา
- ผิวสะท้อน
- ผิวโปร่งแสง
- ผิวโปร่งใส
- ลายของวัตถุ
แต่ละคุณสมบัติเพื่อให้เกิดมิติที่มากกว่าการลอกธรรมดาก็มีเทคนิคการสร้างน้ำหนักที่แตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นผิว เรื่องนี้ขอไม่อธิบายเพราะมันจะยาวมาก และหากพื้นฐานน้อยก็อย่าเพิ่งรู้ครับ จะยิ่งทำให้รวนในการวาดมาก ฝีมือต้องนิ่งและอยู่ตัวก่อน หากอธิบายไปกลัวจะเป็นบาปมากกว่าเป็นบุญ
4.ความละเอียด
เมื่อหลักสูตรวาดเส้นส่งน้องๆมาจนถึงจุดนี้ได้แล้ว จุดนี้ไม่มีอะไรยากเลย เป็นสิ่งที่ต้องมาใส่ใจทีหลังสุดในการฝึกเลยครับ แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญเลย เรื่องความละเอียดเป็นเรื่องของเวลาและใจล้วนๆ หาก3อย่างแรกน้องๆ ไม่คล่องและเร็วพอก็ไม่สามารถสร้างงานละเอียดได้ทันเวลาครับ โครงสร้างแม้ว่าสำคัญที่สุดแต่ก็ต้องเร็วพอที่จะมีเวลาลงน้ำหนัก ลงน้ำหนักก็ต้อฝรวบลัดและเร็วพอที่จะเหลือเวลาให้กับการสร้างความละเอียด เมื่อมีเวลามากพอก็จะมีเวลาให้กับการสร้างสมาธิเพื่อจดจ่อรายละเอียดต่างๆได้ ใส่ใจและความเฉพาะตัวตามบุคคลเท่านั้น
“ไม่มีหลักสูตรใดสร้างความละเอียดได้ดีเท่ากันตัวเราเอง”
บางคนมีติดตัวแต่แรก บางคนก็ต้องสร้างขึ้นเอง แต่กฟ้เป็นทั้งข้อดีข้อเสีย คนที่ละเอียดโดยธรรมชาติก็มองไม่เห็นภาพรวมและโครงสร้างโดยธรรมชาติเช่นกัน ส่วนคนที่หยาบโดยธรรมชาติมองเห็นภาพรวมและโครงสร้างได้ตั้งแต่แรกทำงานได้เร็วแต่ก็กลับเจอปัญหาในตอนจบงานให้ละเอียด
สุดท้ายแล้วในเรื่องของการพัฒนาผลงานของเราเองก็กลับมาตรงจุดของความ “สมดุลทางบุคลิกภาพ” เราจะทำอย่างไรที่จะให้จุดอ่อนเรากลายเป็นจุดแข็ง และพัฒนาจุดแข็งของแต่ละคนให้คม แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน Viridian Academy of Art เชื่อในการพัฒนาตัวเองที่แตกต่างกัน เชื่อในความเฉพาะตัวของแต่ละคน เพราะนั่นคือความเป็น “ศิลปะ” อย่างแท้จริง “Individual” หากเอาแต่ผลิตทุกคนให้เหมือนกันหมด จะเหลือแค่คนที่เก่งที่สุดแค่คนเดียวเท่านั้นที่อยู่รอด แต่หากทุกคนมีจุดเด่นของตัวเองไม่มีใครที่ต้องมาแข่งขันกันเลย แข่งกับตัวเองอย่างเดียวครับ
“ขอให้ทุกคนเชื่อมั่นในตัวเอง คนที่ตัดสินเราก็คือตัวเราครับ” ?????????????????
สามารถติดต่อเราได้ที่นี้
ครูอะไหล่
เบอร์โทรศัพท์ : 083-615-2391
Facebook : viridian academy of art
Line : @viridian
Instargram : viridian academy of art
Email : viridian.academy.2019@gmail.com
หรือ จากปุ่มมุมขวาล่าง