ประสบการณ์ กับการเตรียมสอบมัณฑนศิลป์ – ออกแบบภายใน

ประสบการณ์ กับการเตรียมสอบมัณฑนศิลป์ – ออกแบบภายใน

ก้าวเข้าสู่ช่วง ม.ปลายเมื่อไหร่ การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็แทบจะเป็นเป้าหมายของเด็กทุกคนในขณะนั้น


จุดเริ่มต้นที่อยากเข้า “ออกแบบภายใน”

ออกแบบภายใน

เราเรียนสายวิทย์-คณิต อยู่ที่โรงเรียนรุ่งอรุณ เพราะตอนนั้นก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเข้าคณะอะไร ก็เลยเรียนเผื่อไว้ก่อน ตอนนั้นเราก็ศึกษาไปด้วยว่า ตัวเองอยากจะเรียนอะไร แต่ก็รู้แหละว่าตัวเองชอบทางสถาปัตย์ อินทีเรีย หรือโปรดักซ์ แต่ยังไม่แน่ใจว่าคืออันไหนกันแน่ เราพึ่งมารู้ตัวเองว่าอยากเรียน มัณฑนศิลป์ – ออกแบบภายใน ก็ตอนปลายม.4 “เรารู้สึกว่า interior เป็นอะไรที่ใกล้ตัวเราอะ เป็นอะไรที่ effect กับชีวิตเราโดยตรง เราอาศัยอยู่ในบ้านที่ต้องมีการตกแต่งการจัดวาง ที่มีการคิดไว้แล้วว่าตรงไหนควรทำอย่างไรเพราะอะไร เราอยากเป็นนัก ออกแบบภายใน ที่สามารถทำให้คนที่อยู่ห้องนั้นมีความสุขได้ ให้มี function ที่ต้องการให้ครบ เรารู้สึกว่า การที่เราออกแบบห้อง หรือพื้นที่ที่ดีนั้น ก็เหมือนกับว่าเราออกแบบชีวิตของคนที่มาใช้ให้ดีได้ด้วย” “ interior designer ก็เหมือนนักออกแบบ lifestyle ของคน ” นี่คือความคิดของเรา ทำให้เราอยากเรียน ออกแบบภายใน และอยากทำงานในแนวนี้

 

การเตรียมตัวสอบเข้า “ออกแบบภายใน”

ออกแบบภายใน - การเตรียมตัวสอบเข้า

หลังจากที่รู้ว่าเราจะเรียนต่อทางด้านศิลปะ จะเรียนมัณฑนศิลป์ ก็ต้องไปติว drawing เพราะที่โรงเรียนไม่ได้สอน แล้วเราก็อยู่สายวิทย์อีก ก็ยิ่งไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับศิลปะเลย สายวิทย์ก็คือต้องมี project ซึ่งเป็น project วิทยาศาสตร์ พร้อมกับมีวิชาบังคับ คณิต basic คณิต advance และอื่นๆ อีกเยอะ ไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับศิลปะการออกแบบ ที่จะเอาไปใช้ต่อในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยคณะนี้ได้เลยได้เลย ศิลปะเริ่มห่างหายจากตัวเราไปในช่วงต้น ม.4 แต่อย่างหนึ่งที่เราชอบ และทำอยู่ทุกวันก็คือวาดการ์ตูน และ fine arts เป็นการถ่ายทอดความรู้สึกของเราลงไปในงาน เป็นความรู้สึกจากเบื้องลึกของจิตใจ การที่เราได้ทำอะไรแบบนี้บ่อย ๆ มันเหมือนเป็นการได้กลับไปมองใจตัวเองอีกครั้งว่าช่วงนั้นรู้สึกอย่างไรกับชีวิตหรือสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต หลังจากที่เราได้ทำใจว่าง ๆ และถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นคงไปบนกระดาษ ก็เก็บไว้เป็นงานชิ้นหนึ่ง ที่บอกเรื่องราวของชีวิตในช่วงนั้น บางชิ้นก็ผ่านสี บางชิ้นก็ผ่านการแสดงความรู้สึกของตัวการ์ตูนนั้น เป็นอะไรที่ทำแล้วสบายใจดี

  1. เราเริ่มเรียน drawing ที่ viridian academy of art ช่วงปิดเทอมระหว่างม.4 ขึ้น ม.5 อาจะเป็นเพราะบรรยากาศที่ดูอบอุ่นและเป็นกันเองของ VA ทำให้เรารู้สึกชอบที่นี่ตั้งแต่เดินเข้ามา และเลือกที่จะฝากอนาคตของเราไว้ที่นี่
  2. เราเรียน basic drawing, drawing advance 1 – 5 ความจริงตอนนั้นมี drawing advance แค่ 4 คอร์ส แต่เราลงต่อไปเรื่อย ๆ จนนับได้เป็น 5 คอร์ส และเรียน interior ควบคู่กันไป
  3. basic drawing คือคอร์สแรกที่เราเรียน ซึ่งเกี่ยวกับ contour drawing ให้มือสัมพันธ์กับตา และ quick sketch การขึ้นโครงสร้างของวัตถุแบบคร่าว ๆ แบบรวดเร็ว หลังจากนั้นเราก็เรียน drawing มาเรื่อยๆ
  4. โครงสร้างเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด drawing อย่างแรกที่เรียนคือ เกี่ยวกับโครงสร้างของวัตถุ การขึ้นโครงสร้างของวัตถุให้ดีได้นั้นก็มีอยู่หลายวิธี คนส่วนมากจะใช้การ quick sketch แบบโยนหินถามทาง คือร่างจากตาเห็นเป็น 2 มิติ เป็นเส้นร่างแบบมีหลายเส้น ซึ่งมันจะสามารถปรับแก้อะไรได้เยอะก่อนที่จะลงเส้นจริง
  5. การขึ้นรูปนั้นมีหลายแบบ เช่น แบบวน ๆ แบบสังเกตช่องว่างระหว่างเส้นของวัตถุ การกะระยะ การวัด การขึ้นจากโครงเรขาคณิต การมองเป็น 2 มิติแล้วค่อยร่าง (ใช้ตาข้างเดียวมอง) ทุกอย่างนี้ต้องใช้รวม ๆ กัน หรือใช้ตามความเหมาะสมแล้วแต่ว่าใครจะถนัดแบไหน
  6. สำหรับเราในตอนนั้น รู้สึกว่าการขึ้นแบบวน ๆ หรือการขึ้นโครงแบบใช้เส้นหลายเส้น เราทำมันได้ไม่ค่อยโอเคเท่าไหร่ (เราเรียกการขึ้นรูปแบบร่างหลาย ๆ เส้น หลาย ๆ รอบ ว่าการขึ้นโครงแบบวน ๆ 555) เราชอบเส้นที่ชัดเจน เส้นเดียวมากกว่า มันดู clear และชัดเจนดี แต่ต้องแม่นก่อนไงถึงจะทำแบบนั้นได้

 

ฝึกฝนจนกว่าจะทำได้

ออกแบบภายใน - ฝึกฝน                                              

อยากทำของยากได้ ก็ต้องพยายามมากหน่อย อยากได้เส้น clear ก็ต้องฝึกกันมากหน่อย” เรารู้ว่าเราไม่ได้เก่งมาตั้งแต่แรก ไม่ได้เรียนศิลปะ แต่เราอยากทำให้ได้ นี่เป็นสิ่งแรก ๆ ที่ตัวเองพยายามฝึก นอกเหนือจากการบ้านที่พี่ติวให้มาทำ ช่วงหลังจากนั้น ก็ฝึก contour drawing สัปดาห์ละประมาณ 20 หน้า A2 หรือประมาณวันละ 4 หน้า A2 (ไม่รวมที่อยู่ตามหน้าว่างของหนังสือเรียนอีกนะ 555) ฝึกแบบนี้ไปซักพักหนึ่ง เรารู้สึกว่า contour drawing ทำให้เราวาดโครงสร้างแม่นขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด และยังเป็นสิ่งที่ทำให้เราให้เห็นความเป็นวัตถุนั้นจริง ๆ เพราะทุกวันนี้คนมักจะมองข้ามรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ทั้งสิ่งของ และจิตใจ ไม่ได้พูดเล่นนะคะ การจะ contour drawing ต้องมีสมาธิในการจดจ่อเข้าไปในวัตถุ เห็นว่ามันเป็นอย่างไร มันทำให้เราเห็นความจริง เราจะได้เส้นที่เป็นธรรมชาติ และแม่นขึ้น เราได้เห็นใจตัวเองระหว่างการทำ contour drawing บางทีมันก็จะคิดเรื่องอื่น นู่นนี่บ้าง ทำให้เราหลุดจากสิ่งที่เรากำลังวาดอยู่ เห็นแล้วก็ดึงมันกลับมา ให้เรามีสมาธิกับมันต่อ นั่นก็เหมือนการฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง ถ้าเราไม่มีสมาธิจะมองไม่เห็น detail ของมัน แล้วเราจะเก็บ detail ได้ดีให้สวยได้อย่างไร ถ้าเรายังไม่เห็นมัน การฝึกแบบนี้ทำให้เราได้มีลายเส้นเป็นของตัวเอง เส้นที่ clear ขึ้น เป็นแบบที่เราชอบ แล้วยังเห็น detail ของวัตถุนั้น ๆ ด้วย

 

 “ความเป็นมิติ จะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีน้ำหนัก” โครงสร้างที่ดี หากลงน้ำหนักแล้วก็จะกลายเป็นภาพที่ดี ดูเป็น 3 มิติ มีใกล้ – ไกล มีระนาบ ยิ่งถ้าเราวาดแสงเงาได้สวย ภาพก็จะสวยขึ้นไปอีกระดับนึงเลย ก็เหมือนกับการถ่ายรูป คนที่ชอบถ่ายรูปก็มักจะหามุมมองที่มีแสงดี ๆ เพื่อที่จะถ่ายให้รูปออกมาดูสวย มันก็เหมือนกับการ drawing นั่นแหละ ความชัด – เบลอ ของแสงเงา มันเป็นสิ่งที่ทำให้งานเราดูมีเสน่ห์และดึงดูดสายตาคนดู

“วาดแก้วให้ดูออกว่าเป็นแก้ว วาดโลหะให้ดูออกว่าเป็นโลหะ พลาสติกก็ต้องเป็นพลาสติก ผ้า ไม้ เซรามิก ความโค้ง ตรง เหลี่ยม ขรุขระ โปรงใส โปร่งแสง หรืออื่น ๆ อีกมากมาย” หลังจากเรียนลงน้ำหนักวัตถุ ก็ต่อด้วยการแยกแยะความแตกต่างของ “วัสดุ” เหล่านั้น

 

อีกอย่างนึงที่เราชอบทำในช่วงหลัง ๆ หลังจากที่สามารถ drawing ได้คงที่ระดับนึงแล้ว ก็คือ เราจะเพิ่มขั้นตอนของการแต่งรูปเข้าไปด้วย อย่างแรกคือ แต่งแสงของรูปวาด เพราะในห้องสอบจริง ๆ เราจะพบว่า เรานั่งอยู่ท่ามกลางห้องที่มีไฟขาวติดอยู่ทั่วเพดานห้อง วัตถุของเราจะไร้เงามาก ๆ มันจะขาวโพลน เราต้องแต่งแสงขึ้นมาเองจากความเข้าใจ ขั้นตอนนี้ให้สังเกตไปที่วัตถุจริง ว่าเงาอยู่ตรงไหน เราสามารถเพิ่มความเข้มของเงาได้ คัดเงาได้ fade เงาได้ ทำให้งานดูมีน้ำหนักมากขึ้น และอีกอย่างนึงที่อยู่ในขั้นตอนการแต่งรูปก็คือ เราจะเลือกที่จะไม่วาดบางอย่างที่ทำให้งานไม่สวยลงไป เช่นสมมุติว่าเราวาดกาน้ำที่มีรอยเปื้อน เราสามารถเลือกที่จะไม่วาดรอยนั้นก็ได้ หากเป็นรอยขนาดเล็ก ๆ ที่ไม่ได้เป็นจุดเด่นของงาน หรืออีกทางนึงก็คือ เลือกที่จะวาดให้รอยนั้นดูสวยไปเลยก็ได้ ก็เป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้งาน แต่เรามักจะไม่เลือกที่จะวาดครึ่ง ๆ กลาง ๆ แล้วสุดท้ายคนอื่นดูไม่ออกว่าจุด ๆ นั้นคืออะไร มันเป็นการทำให้งานเราดูมีจุดบกพร่อง “เวลาวาดรูปเราต้องตัดสินใจให้เฉียบขาด” ถ้าตัดสินใจแบบนี้ได้ งานเราก็จะ clear และชัดเจน แต่ระวัง !! การจะตัดสินใจแบบนั้นได้ จะต้องผ่านการฝึก drawing basic และ advance มาระดับนึงแล้วนะคะ

การเก็บรายละเอียด

สุดท้าย คือ การเก็บรายละเอียด ช่วงนี้ของการเรียนนั้นไม่มีสูตรตายตัว มันอยู่ที่เรา ว่าเราจะมีสมาธิในการสังเกตและถ่ายทอดสิ่งเหล่านั้นลงไปในงานได้ดีแค่ไหน ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เรารู้สึกฟินที่สุดแล้ว เราชอบการเก็บ detail ของงานมาก ๆ มันทำให้เรารู้สึกดีเมื่อเห็นความละเอียดของงานในระยะหน้า ตัดกับระยะหลัง งานมันดูมีมิติขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง โดยเฉพาะ highlight ที่อยู่ท่ามกลางบรรยากาศรอบข้างที่เรียบเนียน มันทำให้ highlight เด้งขึ้นมา พอทำไปเรื่อย ๆ งานเราจะมีเสน่ห์ให้คนที่มาเห็นต้องหยุดมองภาพของเรา และเพ่งเข้าไปที่ detail ในภาพที่เราใส่เข้าไป การเก็บ detail นั้นไม่ต้องเก็บทั้งหมดก็ได้ เราเก็บแค่ด้านที่แสงเข้า เป็นด้านที่มองเห็นชัด ส่วนด้านที่มืดเราก็ใส่ดีเทลเป็นระยะหลังนิดหน่อยพอ ให้ไม่แย่งซีนระยะหน้า เหมือนการถ่ายรูปเลยค่ะ ถ้าอยากให้คน focus ที่ไหน ก็ปรับรูรับแสงกว้าง ๆ ภาพก็จะออกมาเป็นหน้าชัดหลังเบลอ คนดูก็จะ focus ไปที่ส่วนที่ชัด มีส่วนที่ชัดน้อยกว่าเป็น background ภาพจึงดูสวย การเก็บ detail เนี่ย มันเป็นความสุขอย่างหนึ่งเลยนะสำหรับเรา อาจจะเรียกว่าเราโรคจิตนิดนึงก็ได้ 555

 

ระหว่างที่เรียน drawing ก็เรียน basic sketch ต่อด้วย interior ต่อ ๆ มาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ขึ้นโครงวัตถุต่าง ๆ เขียน perspective เราเรียน interior กับพี่เมฆ ที่กำลังเรียนอยู่คณะมัณฑนศิลป์ – ออกแบบภายใน ชั้นปีที่ 3 และเรียนกับพี่ต้นในบางครั้ง (พี่ต้นจบสถาปตย์ จุฬาฯ)

 

ปัญหาของเราในตอนนั้นคือ compose ไม่สวย ทั้งของ interior และ drawing ซึ่ง composition เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แม้ว่าเราจะวาดรูปสวยยังไง แต่ถ้าการจัด compose ไม่สวย รูปนั้นก็จะออกมาไม่สวย มองแล้วรู้สึกแปลก พี่ต้นก็เลยรวบหลักสูตร basic compose และสอนให้ใน 3 ครั้ง ตอนเย็น หลังเรียน interior เสร็จ แบบไม่ได้เรียนตามคอส เพราะถ้าเรียนตามคอสก็คงไม่ทัน ถือเป็นการรวมเนื้อหาที่ละเอียดและสามารถนำไปใช้ได้เลย ทั้งกับ interior design และ drawing


 

“เราเองก็อยากอยู่ในบ้านที่สวยและสะดวกสบายใช่มั้ยล่ะ ทุกคนแหละ” พี่เมฆสอนเราตั้งแต่วิธีการ design ห้องต่าง ๆ การนำหลักการของ composition มาใช้ในการออกแบบ รูปแบบของ user ที่จะเข้ามาใช้งานพื้นที่ สอน function ของห้องต่าง ๆ เช่น ห้องครัว ว่าควรวางตู้เย็น เตา และอ่างล้างจานไว้ตรงไหน วางอย่างไรให้คนที่มาใช้ไม่เดินชนกัน สามารถใช้ได้จริง และยังสอนฮวงจุ้ยพื้นฐานของการออกแบบอีกด้วย ยังมีอีกหลายอย่างเช่น function ของร้านอาหารใหญ่ ๆ lobby โรงแรม

 

ยกตัวอย่างอีกอันหนึ่ง “สมมุติว่าเราตื่นขึ้นมากลางดึก จะเดินไปเข้าห้องน้ำ แล้วเหยียบลงไปบนพื้นหินอ่อนอันเย็นเฉียบ บวกกับอุณหภูมิของห้องที่หนาวเย็น มันคงเป็น feeling ที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่เลย” การมีพรมนุ่ม ๆ อยู่รอบเตียง ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรมี เตียงของเขาจะให้ความรู้สึกว่าเป็น comfort zone ขึ้นอีกระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ต้องเลือก ถ้าหาก user ไม่ต้องการอะไรที่มีฝุ่นเยอะ เราก็ต้อง design ให้เป็นไปตามสิ่งที่เขาต้องการ นี่เป็นตัวอย่างเล็ก ๆ ของการ design ที่ต้องคิดแล้วคิดอีก แก้แล้ว ก็ต้องแก้อีก ก่อนที่จะสำเร็จได้

 

 อย่างไรก็ตาม การคิด concept ถือเป็นเรื่องใหญ่ สุดสำหรับเรา เราคิดว่า การที่ concept ว้าวเมื่อไหร่ ก็จะทำให้งานดีขึ้นเป็นกองเลยแหละค่ะ ห้องธรรมดาที่ไม่มี concept ก็ยังคงเป็นห้องธรรมดาที่ใครก็ทำได้ concept จะทำให้การ design นั้นมี story และมีค่ามากขึ้น


 

concept ดี design ดีและแปลกใหม่ ใช้งานได้ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับการ design”

ออกแบบภายใน

เราเป็นคนที่ชอบงานที่สวยงาม มองไปแล้วต้องรู้สึกดี ดู wow ดู cool! เราจึงชอบการ paint ภาพ interior ที่วาดมา ให้สวยและเหมือนจริง

 

หลักการของการ paint ก็มีอยู่หลายอย่าง แต่หลักๆ ก็คือ การเจือสี แสง และ เงา 

มองเผิน ๆ อาจเห็นว่าไม้เป็นสีน้ำตาล หรือ หินอ่อนเป็นสีขาว แต่เราจะลงสีโต้ง ๆ อย่างนั้นไม่ได้ ลองมองเข้าไปในไม้อีกที เราจะพบว่าไม้ไม่ได้มีแค่สีน้ำตาล ไม้บางอันมีสีม่วง สีเขียว สีส้ม สีเหลือง หินอ่อนสรขาวก็เช่นกัน หินอ่อนสีขาวไม่ได้มีเพียงสีขาว แต่ยังเจือสีชมพูอ่อนหรือเหลืองเข้าไปด้วย เราต้องเจือสีเข้าไปในวัสดุด้วย มองให้เห็นสี แล้วก็อย่าลืมเจือสีของแสงเข้าไปในวัตถุด้วยล่ะ ไม่งั้นภาพอาจะเหมือนกับว่า ของแต่ละชิ้นอยู่กันคนละมิติกัน 555

contour drawing ดี ทำให้ drawing ดี และเมื่อลงน้ำหนัก + แยกพื้นผิวดี ก็จะทำให้งาน interior ออกมาดี พี่เมฆชอบพูดเสมอว่า ลงสี interior ก็เหมือน drawing นั่นแหละ ตอนแรกเราก็ไม่เข้าใจหรอก แต่หลัง ๆ ถึงได้รู้ว่า drawing กับ interior ก็คืออย่างเดียวกันนั่นแหละ การวาด perspective แล้วลงสีนั้น เราต้อง render แสงและสีของทุกอย่างในนั้นเองทั้งหมด เอง การฝึก drawing จะทำให้เรารู้ว่าวัสดุอะไรต้องวาดแบบไหน แสงส่องมาทางนี้จะกระทบกับอะไร สะท้อนไปทางไหน เราก็เอาหลักการนั้นแหละมาใช้กับการวาดภาพ interior เพียงแต่ interior ยากกว่านิดหน่อยตรงที่มีเรื่องสี และโทนสีของแสงเข้ามาปนด้วย

 

เกิดความสับสนนิดหน่อยที่เข้ามาในใจตอนนั้น ช่วงเวลาของความสับสนก็ต้องมีบ้างในแต่ละคน

“ชอบวาดการ์ตูนขนาดนี้ทำไมไม่เรียนออกแบบนิเทศศิลป์ล่ะ” คำถามที่พบบ่อยในช่วงนั้น บวกกับมีวันหนึ่งขณะที่อยู่ที่ VA ในตอนเย็น หลังจากที่พี่ ๆ comment งานในวันนั้นเสร็จ พี่ต้นก็ถามทุกคนว่า “วาดอะไรบ่อยที่สุด ที่วาดเป็นประจำ”

 

“แพร วาดอะไรบ่อยที่สุด แล้วบ่อยแค่ไหน” พี่ต้นถาม และคำตอบของเราก็คือ “วาดการ์ตูนค่ะ วาดทุกวัน” พร้อมกับขำแห้งเจื่อน ๆ

 

“น่าจะเปลี่ยนเป็นวาด interior ทุกวันแทนนะ” เป็นประโยคที่แทงใจลึก ๆ อย่างเงียบ ๆ  เสียง monotone ของพี่เขาทำให้เรากลับไปคิดกับเรื่องนี้อีกครั้ง

 

มันเป็นคำถามที่กวนใจอยู่พอสมคมควรเลยนะ ในช่วงนั้นของเรา ทำให้เราย้อนกลับมาดูใจตัวเองอีกครั้ง ว่าเราชอบอะไรกันแน่ เราอยากทำอะไรในอนาคต 

ตัดสินใจแล้วว่าจะเดินทางในสายของ interior designer เราชอบอันนี้จริง ๆ แต่เรายังทำมันได้ไม่ดีเลย ณ ตอนนั้นคือครึ่งทางของการติวสอบแล้ว เหลือเวลาอีกไม่มาก เราไม่รู้ว่าทางมหาวิทยาลัยจะประกาศสอบวันไหนด้วย ทำให้ตัดสินใจ เลิกวาดการ์ตูน แล้ววาดแต่ interior ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เราคิดว่า เราควรมุ่งมั่นกับอะไรอย่างหนึ่งให้เต็มที่ไปเลย ทำให้สุด จะได้มีประสิทธิภาพที่สุด และไม่ต้องมาเสียใจที่หลัง

 

การอยากเรียน ออกแบบภายใน ทำให้ lifestyle ของเราเปลี่ยนไป เราเป็นคนชอบไป café ชอบร้านสวย ชอบขนมสวย ๆ น่ารัก ๆ (และต้องอร่อยด้วย 555) แต่ก่อน เราก็จะ focus แต่ขนมกับเครื่องดื่มบนโต๊ะอาหาร ไป café นั่งจิบชาถ่ายรูปขนมสวย ๆ  แต่พอตอนหลัง เราสนใจในการ design ของร้านมากขึ้น เรามักจะดูการแต่งร้านแล้วคิดว่า เค้าใช้ concept อะไร แต่งยังไง เค้าต้องการให้เรารู้สึกยังไงเวลาเราเข้าร้าน ทำไมอันนี้ทำแล้วดูสวย อันนี้ไม่สวย เค้าใช้หลักของ composition ในการออกแบบยังไงบ้าง บางร้านเราก็จะพบกับความวุ่นวานของพนักงานที่เดินวนไปวนมา นั่นแหละเป็นเหตุมาจากการที่คนออกแบบวาง plan ได้ไม่ดี เราก็จะได้จำไว้ว่าแบบนี้ทำแล้วไม่ดี ส่วนอันไหนที่ดูดี เราก็จะจำไปใช้กับงานของเรา

 

หลังจากที่เราผ่านการฝึก drawing ในขั้นของ basic และ advance มาหลายครั้ง เราค้นพบเทคนิคการ drawing ของตัวเองแล้ว ในช่วงหลัง ๆ มันทำให้เรามั่นใจและกล้าทำอะไรมาขึ้นมาก ๆ รู้สึกดีใจนิดหน่อยที่เรามีจุดยืนเกี่ยวกับวิธีการ drawing ของตัวเองแล้ว

 

Tricks ของเราในการเรียนก็คือ 

  1. จำให้ได้ทุกอย่างที่พี่ ๆ สอนและ comment กลับมา แล้วเอามาปรับใช้กับงานของเรา 
  2. คิดไว้ว่า ถ้าเราพยายามจริง ๆ เราก็ทำได้ และเราต้องทำให้ได้ 
  3. ถ้าไม่เก่งก็ต้องฝึกเยอะหน่อย 
  4. ไม่มีขีดจำกัดในการพัฒนาตัวเอง เราสามารถพัฒนาได้เรื่อย ๆ 
  5. ลองทุกอย่างที่พี่ ๆ เขาสอน และหาสิ่งที่เข้ากับเราที่สุดเป็นจุดยืนของตัวเอง
  6. การตั้งมาตรฐานสูงเป็นแรงผลักดันให้เราทำงานได้ดี 
  7. เอาสิ่งเหล่านั้นมาอยู่ใน lifestyle ของเรา

The 7 keys to success ของเรา เราเชื่อมั่นในสิ่งเหล่านี้ และบอกกับตัวเองอยู่เสมอ ไม่มีครั้งไหนที่ไปเรียนแล้วลืม 7 ข้อนี้เลย

 

ประสบการณ์เข้าค่าย young dec camp 2019

ผ่านช่วงที่เรียนแบบชิล ๆ ไปแล้ว ต่อจากนี้คือของจริง

ไปค่าย young dec camp 2019 (ค่ายของมหาวิทยาลัยที่ทุกคนที่จะเข้าคณะมัณฑนศิลป์ต้องไป) คือค่ายที่มีการทดสอบ drawing และวิชาภาค (interior)

 

นี่ขนาดเป็นแค่ค่าย ยังตื่นเต้นขนาดนี้ มือเราสั่นตั้งแต่ก่อนจะวาดอีก เขาจัดวันให้สอบ interior ก่อน เรามือสั่นแบบไม่เคยสั่นมาก่อน เพราะว่าเกร็งและตื่นเต้น ผลสอบไม่ได้ดีเท่าทีตัวเองหวังไว้ เราได้ 80-90 คะแนนอาจจะไม่ได้น้อยมาก แต่คนที่ได้คะแนน 90-100 ก็มีเยอะพอสมควร เราคิดว่าเราต้องพัฒนาต่อไป เราต้องทำให้ได้ดีกว่านี้สิ ในรอบสอบจริง อันนี้เป็นแรงผลักดันให้เราต้องพัฒนาตัวเองขึ้นไปอีกเยอะเลยค่ะ 

สอบ drawing ไม่ได้ตื่นเต้นเท่าสอบ interior คงเป็นเพราะเราได้ผ่านมันมาครั้งหนึ่งแล้ว แล้วพบว่าการตื่นเต้นไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นเลย มีแต่จะทำให้เราแย่ลง เราเลิกตื่นเต้นเลิกกลัว และทำให้เต็มที่

 

drawing ครั้งนั้นได้ 80 – 90 คะแนน เศร้าอยู่นะ กลัวสู้คนอื่นไม่ได้ เห็นงานตัวเองแล้วก็รู้แหละว่าพลาดตรงไหนบ้าง ก็เอามาปรับ ต่อไป ฝึกต่อ และจะต้องไม่พลาดแบบนั้นอีก

 

เตรียมทำ Portfolio สำหรับเข้า ออกแบบภายใน


หัวข้อพอร์ตมาแล้ว 

ด้วยความที่โรงเรียนเรามี 3 เทอม (โรงเรียนรุ่งอรุณ) และปิดเทอมไม่ตรงกับคนอื่น ช่วงทำพอร์ดเราลาเรียนไม่ได้เพราะว่าเปิดเทอมอยู่ แล้วเป็นช่วงสอบ final นี่คือความเศร้าระดับ 10 ของเราในตอนนั้น  ให้ 10 เต็ม 10 เลยอะ เหมือนจะไปได้ดีอยู่แล้ว แต่ตอนสุดท้ายหักมุม

 

“คิดซะว่าอุปสรรคคือสิ่งที่ทำให้เราโตขึ้นละกันนะ 555 จริง ๆ ตอนนั้นก็ขำไม่ออก” พยายามบอกตัวเองอย่างนั้นในช่วงที่ down มากๆ เราอยู่สายวิทย์ แต่ก่อนมันก็ไม่ได้เป็นปัญหาอะไรหรอก แต่ตอนนี้เรามั่นใจแล้วว่าเราจะไม่ไปทางนั้นแน่ ๆ มันเหมือนการอยู่ผิดที่ผิดทาง เราเรียนไปโดยที่จะไม่ได้เอาไปใช้สอบเลย เวลาสำหรับการทำงานศิลปะก็ยิ่งไม่มีอยู่แล้ว แล้วยังเป็นช่วงสอบ final อีก แถมยังลาเรียนไม่ได้ ปัญหานี้มันหนักสำหรับเรามาก ๆ เราไม่รู้จะทำยังไง ตอนที่ไม่รู้จะเอายังไงกับชีวิต พี่อะไหล่กับพี่เมฆจึงเป็นที่ปรึกษาเพียง 2 คนที่รับรู้เรื่องทุกอย่างของเรา แล้วพยายามช่วยอย่างเต็มที่ เป็นทั้งที่ปรึกษาเรื่องเรียน เรื่องพอร์ต การแบ่งเวลา การลาเรียน เรื่องติว ดูงานให้ผ่านไลน์เพราะเราไป VA ไม่ได้ แล้วยังต้องมาปลอบเด็กน้อยในตอนนั้นที่จัดการชีวิตตัวเองไม่ได้อีก เขาช่วยเต็มที่และดีกับเรามาก จนเราไม่รู้จะตอบแทนยังไงแล้ว

 

ตัดชอยส์ที่เป็นตัวถ่วงเราออกไป เราตัดสินใจทิ้งเรื่องเรียนของที่โรงเรียนไป เอาแค่พอผ่านไปได้ แต่ไม่ได้ปล่อยให้ตก เพราะถ้าตกจะต้องไปซ่อมอีก ซึ่งช่วงที่จะต้องซ่อมนั้นเป็นช่วงก่อนสอบปฏิบัติรอบจริงของศิลปากร เวลานั้นควรจะเอามาฝึกก่อนไปสอบรอบจริง ไม่ใช่ไปเสียเวลากับการแก้คะแนนของโรงเรียน แผนของเราคือแบบนั้น เราเก็บคะแนนสอบแค่พอผ่าน งานอื่น ๆ ก็ส่งไปตามที่คำนวณว่าจะไม่ต้องกลับมาซ่อมอีก 

 

ไป VA ไม่ได้ ก็เอาพอร์ตไปทำที่โรงเรียน ซึ่งก็มีข้อจำกัดคือ งานส่วนมากต้อง set แสงเงาหุ่นนิ่งแล้ววาดสด ใช้เวลาวาดนาน ก็ต้องกลับไปทำที่บ้านหลังเลิกเรียน ที่โรงเรียนจึงทำได้แค่นิดหน่อยเท่านั้น แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำเลย

 

ณ ตอนนั้น วันไหนลาได้ก็ลา อยู่กับพี่เมฆ พี่เมฆสอนให้เกินเวลาของคอสไปเยอะมาก ๆ ด้วยความเป็นห่วงน้องแหละ กลัวว่าจะสอบไม่ติด ช่วงทำพอร์ดเราใช้เวลาคิด concept นานมาก ๆ กว่าจะได้ที่พอใจ ก็เสียเวลาไปเยอะ เพราะเราให้ความสำคัญกับ concept เป็นอันดับ 1 ทำให้เรากลัวว่าจะทำไม่ทัน พอร์ต drawing ก็ยังทำไม่ถึงไหน

 

พี่เห็นน้องจะทำไม่ทัน ก็ไม่ได้ปล่อยไว้อย่างนั้น พี่เมฆมาอยู่เป็นเพื่อนทุกวันที่เราทำพอร์ต ทั้ง ๆ ที่เรียนอยู่ปี 3 มีงานท่วมหัว นอนก็ไม่ได้นอน บางทีพี่ก็ดูง่วงมากจริง ๆ แต่ก็ยังมาอยู่เป็นเพื่อน แบกเอางานมานั่งทำเป็นเพื่อนด้วย มีการพาไปนอกสถานที่ด้วยในหลาย ๆ ครั้งที่ไม่สะดวกเข้ามาที่ VA

 

การทำพอร์ตด้วยกันทำให้เพื่อนใน VA รุ่น 7 รักกันมาก ทุกคนช่วยกันดูงาน บรรยากาศของ VA ที่เป็นเหมือนบ้านอีกหลังในช่วงนั้นอบอุ่นมาก เห็นแล้วสบายใจ มันจึงเป็นความสบายใจเล็ก ๆ ในช่วงเวลาแห่งความเครียดตอนนั้นเลย

 

3 สัปดาห์กว่า ๆ อันทรหด ผ่านไปไวเหมือนโกหก

วันที่พอร์ดเสร็จ เราดีใจมากจริง ๆ เหมือนยกภูเขาครึ่งหนึ่งออกไปจากอก (ยังเหลืออีกครึ่งหนึ่งของการลุ้นว่าจะติดรอบต่อไปมั้ย)

 

หลังจากส่งพอร์ตเสร็จ

เราทำพอร์ตของมหาวิทยาลัยอื่นแล้วส่งไป เผื่อไม่ติดศิลปากร ถ้าเกิดไม่ติดศิลปากรจริง ๆ เราไม่อยากซิ่ว เราจะเรียนที่อื่นไปก่อน 1 ปี แล้วค่อยกลับมาสอบศิลปากรอีกครั้ง จึงยื่นมหาวิทยาลัยอื่นไปอีก 3 ที่

 

สอบปฏิบัติและสอบสัมภาษณ์ของมหาวิทยาลัยอื่นไปแล้ว แล้วติดแล้ว ความสบายใจก็เข้ามาในใจให้สดชื่นขึ้นนิดหน่อย แต่เป้าหมายหลักของเราคือมัณฑนศิลป์ ศิลปากร

 

ประกาศผลติดรอบสัมภาษณ์ วันที่ 10 มกราคม แต่วันที่ 9 มกราคม 2020 เป็นวันที่ไม่รู้จะนิยามวันนั้นยังไงดี ตื่นเต้นมาก คืนนั้นนั่งทำงานของโรงเรียนอยู่ถึงดึก ไลน์เริ่มเด้งรัว ๆ แต่เราไม่ได้สนใจ ก็นั่งทำงานต่อไป พอจะนอนก็ขออ่านไลน์ก่อนซักนิดนึง

 

“ประกาศแล้ว!!” แค่เห็นคำนี้ก็ตกใจแล้ว และรู้เลยว่าหมายถึงอะไร ยังไม่ได้ทำใจเลย ไหนบอกว่าประกาศวันที่ 10 ไง

 

เราทำใจอยู่ซักพักนึงก่อนที่จะกดเข้าไปในเว็ป เอาจริงไม่กล้าเปิดดูเลยค่ะ กลัวว่าจะไม่ติด กลัวความจริง แต่ไหน ๆ ความจริงก็อยู่ตรงหน้าแล้ว ก็แค่ดูแล้วยอมรับมัน

 

โอเคเราติด เราดีใจมากจริง ๆ ไม่รู้ว่าจะอธิบายอาการดีใจนั้นอย่างไร feeling เหมือนเราทุ่มเททุกอย่างแล้วมันกำลังจะสำเร็จแล้วเลยค่ะ แต่นี่เป็นเพียง “กำลังจะสำเร็จ” การสอบอีกรอบกำลังรอเราอยู่ คัดออกอีกเกินครึ่ง แต่ตอนนี้โล่งใจขึ้นนิดนึง เหมือนดอกไม้กำลังบาน มีความรู้สึกดีใจมาก ๆ  เราผ่านมาครึ่งทางแล้ว

 

หลังจากนั้นเราก็ฝึก drawing และ interior เรื่อย ๆ มา สัปดาห์สุดท้ายก่อนสอบ เราลาเรียนที่โรงเรียนทั้งสัปดาห์ เพื่อมาฝึก ตอนนี้อะไรก็ไม่สำคัญเท่าการสอบที่กำลังจะมาถึงแล้วแหละ (ลาได้เพราะว่าขึ้นเทอมใหม่แล้ว)

 

เราไม่เคยทำทันเลย ลองจับเวลามาหลายรอบแล้ว รู้สึกว่าเวลาเดินเร็วมาก แค่คิดงานก็หมดเวลาแล้ว ไม่รู้ว่าจะทำทันได้ยังไง แต่ก็ฝึกไปก่อน หลาย ๆ แบบ ที่คิดว่าข้อสอบจะออก

 

เตรียมตัวสอบอย่างไร?

จากข้อสอบปีผ่าน ๆ มา เราคิดว่าข้อสอบน่าจะออกหนึ่งในช้อยส์ตามนี้ 

  1. Sketch design 2 หรือ 3 ชั่วโมง 
  2. Perspective อย่างเดียว 1 หรือ 2 ชั่วโมง
  3. Perspective อย่างเดียว 40 นาที 

เราคิดว่าข้อ 3 ยากสุด เพราะถ้าทำข้อ 3 ทันก็ทำข้ออื่นทัน ช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องแข่งกับเวลาแล้ว เป็นช่วงที่เรารู้สึกว่ายากที่สุดเท่าที่เคยผ่านมาเลย

 

เราไม่เคยทำทันเลย ตั้งแต่เรียนมา อันนี้เป็นแรงผลักดันขึ้นสูงสุดให้กับเราเลย ครั้งท้าย ๆ ที่ทำ sketch design ก็เลทเวลามานิดหน่อย แต่นั่นก็ไม่ถือว่าทำทันไง แล้วที่ยากอีกอย่างนึงคือ ต้องวาดให้ลายเส้นและเทคนิคการลงสีเหมือนกับพอร์ตที่ส่งไป เพื่อแสดงตัวตนกับอาจารย์ในวันสอบจริงว่า เราทำพอร์ดเอง ไม่ได้ให้ใครทำให้ นั่นแหละหายนะของเราเลย เรารู้สึกว่า พอร์ตที่ส่งไปมันเนี๊ยบมาก จะทำงาน 40 นาทีให้เนี๊ยบเหมือนกับพอร์ตก็คือยากสุด ๆ  แต่ไม่เป็นไร เราพร้อมสู้อยู่แล้ว !!

 

Perspective รูปแรกเป็นอะไรที่น่าเศร้านะ 40 นาที แค่เขียนโครงยังไม่เสร็จเลย ทำให้เห็นว่าเรายังต้องพยายามอีกเยอะ เราลองเปลี่ยนเทคนิค ลองใช้หลายเทคนิค ทั้ง ดินสอหัวเล็ก  ดินสอไม้ ปากกา lancer สีไม้ สีน้ำ สี copic ใช้ไม้บรรทัด ไม่ใช้ไม้บรรทัด ร่างรูป ร่างนิดหน่อย และ ไม่ร่างเลย

 

และแล้วเราก็ได้พบสิ่งที่เราถนัด ก็คือเราใช้ ปากกา lancer กับสีน้ำ จบงานด้วยปากกาดำ และเพิ่ม highlight ด้วยปากกา milky สีขาว เราใช้วิธีไม่ร่างภาพ เพราะว่าการร่างภาพ เป็นการเปลืองเวลาที่มีอยู่แค่ 40 นาทีไปมาก เราควรจะเอาเวลาไปทำอย่างอื่นมากกว่า แล้วเส้นมันก็รกด้วย (บางคนอาจจะคิดว่า 40 นาทีก็ไม่น้อยนะ แต่สำหรับเราในตอนนั้น เรารู้สึกเหมือนว่า แค่หายใจก็หมดเวลาแล้วอะ 555 แค่ผสมสีก็หมดเวลาไปเยอะแล้ว)

 

ช่วงนี้ไม่ได้ฝึกอะไรนอกจากทำงานให้ทันด้วยเทคนิคที่คิดว่าเราถนัดที่สุด ทำไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง หมดเวลาแล้วทำไม่ทันก็ทำใหม่ แม้มันจะเลยมาแค่ 30 วินาทีก็ตาม เราฝึกไปเรื่อย ๆ จนแม่นขึ้นแล้วไม่ต้องร่างภาพก็ได้ มาถึงก็วาดแล้วลงสีเลย วิธีนี้ทำให้เราประหยัดเวลาไปเยอะ
 

อย่าลืมว่ายังเหลือ drawing อีก เรื่องของการฝึก drawing เราก็จับเวลา 40 นาทีเหมือนกัน เป็นการฝึกว่าจบงานยังไงให้งานดูเสร็จ drawing เราฝึกวาดมือถือของเป็นหลัก เพราะได้ฝึกทั้งมือ และสิ่งของ แล้วเราก็คาดไว้ว่าอาจารย์น่าจะออกโจทย์นี้ การฝึกก็เหมือนกับ interior นั่นแหละ หาเทคนิคของตัวเองให้เจอแล้วทำให้ทัน 

กฎสำคัญของการฝึก 1 สัปดาห์นี้คือ “ห้ามป่วยห้ามพักห้ามรักหมอ” เอ้ย ไม่ใช่ ๆ 555 

กฏของเราจริง ๆ คือ

  1. ห้ามป่วย
  2. ห้ามนอนดึกเกิน
  3. ห้ามฝีมือตก   

พักได้ แต่อย่าพักนาน

 

4 วัน 50 รูปเป็นเรื่องจริงที่เราทำในตอนนั้น เป็นการผลาญกระดาษที่เยอะมากจริง อันนี้เฉพาะ interior ถ้ารวม drawing ก็ประมาณ 60 รูป มันดูเยอะ แต่มันก็ไม่เยอะถ้าคิดว่าอีกไม่กีวันเราจะต้องทำให้เต็มที่เป็นครั้งสุดท้าย แล้วจะไม่มีการได้แก้ไขอะไรอีกแล้ว เราคิดว่าการซ้อมมือแค่นี้ไม่ถือว่าเยอะหรอก เราพึ่งได้สัมผัสคำว่า “ทำทันเวลา” ก่อนวันสอบ 2 วันเอง ที่ผ่านมาไม่เคยทำทันเลย

รู้สึกว่าการวาดการ์ตูน + fine arts ที่ไม่ได้วาดมานานแสนนาน ได้เอามาใช้ก็ตอนนี้เนี่ยแหละ เรามีคู่สีหลายคู่ให้ใช้ ซึ่งคู่สีนั้นก็มาจากอารมณ์ของเรา เอามาทำเป็น mood and tone ของ interior ได้ เป็นการจับคู่สีให้เข้ากับ character ของ user ของเรา

 

การฝึก contour drawing และ Quick sketch ทำให้เราจัดหน้ากระดาษได้ดีขึ้น ไม่ต้องร่างเยอะ แล้วมีเส้นร่างที่ clear แบบที่เราชอบ

 

การฝึก drawing โครงสร้างและลงน้ำหนักทำให้เราวาดโครงสร้างสวย และลงสีมีน้ำหนักครบ ทำให้งานดูสวยขึ้นเยอะ
 

ทั้งหมดทุกอย่างที่เรียนมามันเกี่ยวข้องกันทั้งหมดจริง ๆ ไม่มีอะไรที่เรียนไปแล้วไม่ได้ใช้ ตั้งแต่เนื้อหาทุกอย่าง จนไปถึงคำสอนของพี่ ๆ ทุกคำ ยังเอามาคิดได้ทุกคำ เป็นที่สอนตัวเราและเป็นแรงผลักดันให้เราสู้ต่อไปเรื่อย ๆ

  

แสงอาทิตย์ตอนเช้าของวันสุดท้ายก่อนสอบ ส่องเข้ามาในห้องนอนตอนเช้า เหมือนจงใจจะปลุกเราให้ตื่นขึ้นมาเตรียมตัวเตรียมใจสำหรับวันพรุ่งนี้ วันนี้เราตื่นมาแบบได้นอนเต็มอิ่ม และมานั่งเหลา EE เตรียมอุปกรณ์สำหรับวันพรุ่งนี้ ซ้อมวาดไป 3 รูปเบา ๆ ให้ไม่ลืม feeling ของปากกา เป็นการวอมมือนิด ๆ หน่อย ๆ เตรียมของเสร็จก็นั่งคิด concept เผื่อไว้ เผื่อวันพรุ่งนี้โจทย์มาแปลก ๆ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาคิด concept ให้นาน บ่าย ๆ ก็เล่นกีต้าร์นิดหน่อยก่อนที่จะเช็คของอีกทีว่าไม่ลืมอะไร เราไม่อยากเครียดวันสุดท้ายก่อนสอบ เรื่องการฝึก เราเตรียมตัวมาแล้วตั้งแต่เมื่อวาน แล้วพอใจกับผลนั้นแล้ว “ที่เหลือคือทำให้ดี ฝีมืออย่าตก แค่นั้นก็พอ” เราบอกกับใจตัวเอง

แล้วก็ถึงวันสอบ

วันสอบเป็นวันที่ไม่สามารถหยุดตื่นเต้นได้เลย ทั้งตื่นเต้นทั้งกลัว บรรยากาศของวังท่าพระดูตึงเครียด ทุกคนที่มาสอบที่นี่ก็คืออยากจะเข้าที่นี่จริง ๆ แล้วเราจะต้องสู้กับอีกกี่คนล่ะเนี่ย แต่ละคนก็ตั้งใจฝึกมาทั้งนั้น บรรยากาศด้านนอกว่าเครียดแล้ว บรรยากาศในห้องสอบจริงเครียดกว่า
 

อาจารย์ประกาศโจทย์ข้อสอบแล้วปล่อยให้เราทำ เราไม่อยากหันไปดูคนข้าง ๆ เลย เรานั่งอยู่หหน้าสุดของห้อง คนรอบข้างทั้ง 3 คนคืองานโหดมาก เราโดนรายล้อมด้วยคนโหด 3 คน มันทำให้เราเครียด เครียดกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว ตอนนั้นคิดถึงพี่เมฆกับพี่อะไหล่จริง ๆ อยากให้พวกเค้ามาอยู่ด้วย แต่นั่นก็แค่ความคิดของเด็กคนนึงที่ทำตัวไม่ถูก ตัวเราตอนนั้นรู้สึกทำอะไรไม่ถูกจริง ๆ แต่ความจริงก็คือความจริง ว่าเราต้องสู้ไปด้วยตัวเราเอง ทุ่มเทมาขนาดนี้จะปล่อยให้พังในวันเดียวไม่ได้ งานเราพลาดนิดหน่อยด้วยความเบลอของเราเอง แต่ก็แก้ไปได้ งานเสร็จ จบงานได้ เราไม่ลืมว่าเราจะต้องมีสมาธิในการสอบ เรากลับไปตั้งสติอีกครั้งและทำมันให้ดี

 

“ทำสุดความสามารถแล้วแหละ” เราบอกกับตัวเอง

 เสียงอาจารย์บอกหมดเวลาก่อนที่จะเก็บกระดาษไป 

สัมภาษณ์ตอนบ่ายไม่ได้เครียดอะไรขนาดนั้น เหมือนจะคุยกับอาจารย์แบบปกติมากกว่า เขาก็ถามเรื่องทั่วไป ถามงานเรา idea อะไรแบบนั้น เราก็ตอบไปตามที่เราคิด รู้สึกดีที่อาจารย์เค้าดูสนใจกับ concept ของเราที่คิดมาตั้งนาน  อาจารย์ชอบหนูก็ดีใจค่ะ 555 

ช่วงเวลารอประกาศผลเป็นช่วงที่หายใจไม่ทั่วท้องเอาเลยจริง ๆ แต่เราทำดีที่สุดแล้ว ต่อจากนี้เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยแล้ว ว่าเค้าจะสนใจเรามากพอที่จะรับเราเข้าไปหรือเปล่า ได้แค่ทำใจและภาวนา

 

ประกาศผลว่าติดคือดีใจมาก มากที่สุด รู้สึกโล่งใจแบบไม่โล่งอะไรไปกว่านี้อีกแล้ว ความพยายามช่วงที่ผ่านมามันแสดงผลให้เราเห็นแล้ว อย่างแรกที่ทำคือส่งไปให้พ่อแม่ดู และโทรไปหาพี่อะไหล่กับพี่เมฆเพื่อขอบคุณเขาจากใจจริง ๆเป็นคนที่ทำให้เราได้มีวันนี้ ได้เรียนในคณะที่ไผ่ฝันไว้ และทุ่มเทมาตลอด ความดีใจและโล่งใจมันเยอะเกินที่บรรยายออกมาเป็นคำพูด มันเป็นความปิติจากการทุ่มเทอย่างหนักมานาน แล้วมันสำเร็จแล้วในวันนี้

 

จากคนที่ไม่เคยเรียนศิลปะอย่างจริงจังเลย แต่ชอบศิลปะ อยากเข้าคณะเกี่ยวกับศิลปะ

แล้วมาลงเอยที่มัณฑนศิลป์ – ออกแบบภายใน ที่ต้องใช้ drawing กับการ design และการ paint เพื่อสอบเข้า เราจะไม่มีวันนี้เลย ถ้าไม่มีทุก ๆ คน ขอบคุณทุก ๆ คนที่สอนหนูมา ทั้งครูที่โรงเรียน และส่วนมากก็คือที่ VA ขอบคุณที่ช่วยทำให้หนูผ่านช่วงชีวิตในสายวิทย์ – คณิต ที่ไม่ค่อยลงตัว 

ในช่วงปีสุดท้ายไปได้ขอบคุณที่ทุ่มเทเวลาและพลังให้กับเด็กคนนี้ ยังจำได้อยู่เลย วันแรกที่เข้าไปในเรียน ยังทำอะไรไม่เป็นเลย ครั้งแรกนะ เดินเข้าไปเห็นพี่ ๆ วาดหุ่นเดวิด เราก็ยืนอึ้ง ไม่คิดว่าอนาคตจะทำได้ แต่หนูก็ได้พี่ ๆ เนี่ยแหละ ช่วยสอนทั้งจนทำได้ ทั้งสิ่งที่ต้องเอาไปสอบ แล้วก็สอนการใช้ชีวิต หนูรู้สึกว่า VA เหมือนบ้านจริง ๆ นะ เหมือนครอบครัว เป็นสถานที่ที่อบอุ่น (ตอนทำพอร์ตนี่อบอุ่นจนเดือดเลย งานเดือด ๆ 5555) 

“สำหรับหนูแล้ว VA ไม่ใช่ตึกติวที่ติวเด็กเพื่อจะสอบเข้าเพียงอย่างเดียว ไม่ใช่โรงงานติวเด็ก หนูรู้สึกว่า VA เป็นบ้าน ที่สอนศิลปะ สอนชีวิต สอนการทำงาน แล้วยังทำให้หนูสอบติดคณะที่ไฝ่ฝันได้อีก บ้านหลังนี้สอนเกินสิ่งที่จะเอาไปสอบอย่างเดียวแล้วอะ สอนไปถึงการเอาไปใช้ในชีวิตจริงด้วย สอนชีวิตนี่เอาไปใช้ได้ตลอดไปเลยนะ”

 

กว่าจะผ่านมาถึงจุด ๆ นี้ก็เหนื่อยมากจริง ๆ และที่เหนื่อยที่สุดก็คือพี่ ๆ ที่สอนเด็กคนนี้ จากวันนั้น ถึงวันนี้ หนูได้อะไรไปเยอะ และก็อยากจะตอบแทน ทำอะไรให้พี่ ๆ บ้างเหมือนกัน
 

สิ้นสุดทางแห่งม.ปลาย ก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย ก็คงจะเจออะไรอีกเยอะที่ยากและท้าทายกว่านี้ แต่หนูก็พร้อมที่จะสู้ไปกับมัน หนูเลือกแล้ว และจะพยายามทำให้ดี 

ขอบคุณพี่ ๆ ทุก ๆ คนอีกครั้งนะคะ ช่วงเวลาที่ได้อยู่ด้วยกัน มันทำให้หนูมีความสุข ความจริงเรื่องแบบนี้อยากจะพูดต่อหน้ามากกว่า รู้สึกได้ฟีลมากกว่าการเขียน มันเป็น feeling ที่เขียนแล้วอธิบายได้ไม่หมดจริง ๆ จะเป็นช่วงชีวิตที่ไม่ลืมเลย 

อยากจะบอกอีกหลาย ๆ ครั้ง 

VA บ้านอีกหลังที่หนูรัก และพี่ ๆ ที่น่ารักทุกคน ที่ทำให้หนูได้มีวันนี้ ขอบคุณมาก ๆ นะคะ 

 


เขียนโดย : นางสาว ณัชชา ทรงธัมจิตติ (แพร) – Viridian Academy of Art รุ่น 7

 

 


สามารถติดตาม viridian academy of art ช่องทางต่างๆได้ดังนี้
ครูอะไหล่
เบอร์โทรศัพท์ : 083-615-2391
Facebook : viridian academy of art
Line : @viridian
Instargram : viridian academy of art 
Email : viridian.academy.2019@gmail.com

หรือ จากปุ่มมุมขวาล่าง

บทความที่เกี่ยวข้อง