ออกแบบแฟชั่น ที่ไม่ใช่แค่แฟชั่น (fashion design) การเห็นแฟชั่นภายนอกอาจจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ไกลตัวเป็นเรื่องที่ฉาบฉวย เสื้อผ้าที่ออกแบบมาแพทเทิลแปลกตาก็ไม่สามารถเข้าถึงได้แล้ว หรือ เป็นแค่ความสวยงามเพียงอย่างเดียว นั้นอาจจะเป็นการตัดสิน “การออกแบบแฟชั่น” ไปโดยที่ไม่ได้มองให้ครบองค์ประกอบเสียก่อน โดยที่วันนี้เราจะมาพูดถึงมุมมองต่างๆของ การออกแบบแฟชั่นและสำหรับน้องๆ ที่ต้องเรียนต่อมหาวิทยาลัยในสาขานี้ ต้องเตรียมตัวอย่างไร และทักษะอะไรบ้างที่จำเป็นในการศึกษาต่อ
ออกแบบแฟชั่น “เพราะแฟชั่นอยู่รอบตัวเรา”
ออกแบบแฟชั่น คืออะไร จริงๆแฟชั่นอยู่รอบตัวเรา คนที่บอกว่าไม่ได้ติดตาม ไม่ได้สนใจ อาจจะไม่รู้ว่าความจริงความเป็นแฟชั่นนั้นซ่อนอยู่ในตัวตนของแต่ละบุคคลแล้วแต่ละบุคลิกคนแต่ละคนด้วย แฟชั่นจึงสามารถบอกตัวตนผ่านเครื่องแต่งกาย ที่แต่ละคนจะถ่ายทอดออกมาและเกิดเป็นสไตล์ที่หลากหลาย เกิดเป็นยุคหลายๆยุค และเเต่ละยุคก็มีความน่าสนใจ ในเรื่องราวบริบทรอบข้าง สิ่งแวดล้อมที่แต่ละคนเจอ สิ่งที่โดนปลูกฝังมา รวมกระทั้งการใช้ชีวิต การปรับตัวทำให้เครื่องแต่งกายมีความหลากหลายและเป็นตัวกลางที่จะสื่อสารในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก บุคลิกต่างๆการหยิบเสื้อผ้าสักชิ้นในแต่ละวันเราทุกคนก็ต้องนึกถึงสถานที่ ที่จะไป หรือ อาจจะเลือกเพราะสีเสื้อผ้าที่เสริมดวงของวัน ก็ทำให้เพิ่มความสนุกในการจะหยิบจับเสื้อผ้ามามิกซ์แอนท์แมทให้เข้ากัน
ความเป็นแฟชั่นนั้นไม่ใช่เพียงแค่อยู่บนรันเวย์ แต่อยู่ในทุกๆวันของชีวิตประจำวัน ถ้าความฮิตเกิดจากการใช้ชีวิตของคนๆนึงที่เกิดจาการดีไซน์จาก เสื้อผ้า หมวก ของรอบตัวของคนนั้นๆ เพื่อเกิดเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิต ก็อาจจะทำให้คนรอบข้าง ที่ใช้ชีวิตคล้ายกันทำตาม เกิดเป็นความนิยมจนอาจจะถูกนำไปจนเกิดเป็นแฟชั่นในที่สุด
การแต่งกายยังสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมของแต่และพื้นที่ วิวัฒนการเทคโนโลยีที่พัฒนาผ่านแฟชั่นที่สวมใส่ในคนแต่ละยุค ยังแสดงให้เห็นถึงสภาพเศรษฐกิจ และเป็นสิ่งที่บ่งบองฐานะทางสังคม หรือบคุคลิกของแต่ละคนผ่านภาพลักษณ์ภายนอกได้ ถึงทำให้ผู้คนให้ความสำคัญกับการแต่งกาย
การเรียนในสาขาแฟชั่นนั้นเหมาะกับเราหรือไม่
โดยส่วนใหญ่แล้วน้องที่มีความฝันที่อยากทำงานร่วมกับแบรนด์แฟชั่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือฝันที่อยากจะสร้างแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตัวเอง ชอบการแต่งตัว ชอบในการมองหาแรงบันบาลใจและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มีความหลงไหลในแฟชั่น สาขาการออกแบบแฟชั่นถือเป็นสาขาที่ตอบโจทย์ที่สุด แต่แค่ความชอบอย่างเดียวคงไม่พอ การที่จะเรียนต่อในสาขานี้จะต้องอาศัยการเตรียมตัว และฝึกฝนทักษะต่างๆที่จำเป็นในสาขานี้ด้วย
อยากติด ออกแบบแฟชั่น ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
1. ศึกษาเรื่องของรสนิยม
รสนิยมนั้นมีความหลากการศึกษาหรือหาตัวตนก่อนเข้ามาเรียนจึงสำคัญมาก เพราะส่วนใหญ่จะเกิดจากที่ไม่เข้าใจในสิ่งที่ถูกดีไซน์ให้สวยขึ้นกับสิ่งที่โดนจับยัดไม่ได้ดีไซน์ที่เป็นความสวยงามแบบผิดๆ การหาแรงบันดาลใจ (inspiration) เพื่อให้เกิดคลังภาพและสไตล์ที่หลากหลาย จนเจอตัวตนของเราเองได้อย่างชัดเจน
2. ฝึกการดูงานหรือเข้าใจในตัวงานของศิลปินหรือดีไซน์เนอร์
ความเข้าใจคอนเซ็ปต์เรื่องสำคัญที่จะก้าวเข้าไปเรียน สาเหตุในการทำงานของนักเรียนส่วนใหญ่ เกิดจากการทำในสิ่งที่ไม่เข้าใจ และความไม่ชัดเจน นำมาใช้ในการดีไซน์โดยที่เห็นแค่เปลือก ทำให้เป็นจุดบกพร่องในการต่อยอดและสิ่งที่จะสื่อสารออกมาเป็นผลงาน
3. ทำความเข้าใจและการศึกษาที่มาของดีไซน์เนอร์ในแต่ละแบรนด์
แต่ละแบรนด์มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน ไม่ใช่แค่เรื่องของดีไซน์อย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของแนวคิดคอนเซ็ปต์ที่ทำให้ความเป็นแบรนด์ที่มีความเด่นชัดในความเป็นตัวเองสูง จึงทำให้เกิดความรู้สึก รับรู้ถึงคุณค่า ที่ส่งถึงลูกค้าของแต่ละแบรนด์ไม่เหมือนกัน มื่อศึกษาจะเห็นความแตกต่างเข้าใจในคอนเซ็ปต์ หัวใจของแบรนด์แต่ละแบรนด์ เพราะถ้าเราเข้าใจแบรนด์แล้ว สิ่งที่สำคัญที่จะกลับมาเห็นตัวเองและทบทวนบางสิ่งบางอย่าง วิเคราะห์ เข้าใจในตัวเองแล้วค่อยมาออกแบบสร้างผลงานในแบบที่เป็นตัวเอง
ทัศนะคติต่างๆที่เราเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบแฟชั่น อาจจะเป็นเพียงสิ่งที่เรามองมันอย่างผิวเผิน ซึ่งทำให้เราพลาดสิ่งที่งดงาม หรือ การพิจารณาต่างๆได้อย่างถ้วนถี่ และ หากสนใจที่จะศึกษา หรือ เตรียมความพร้อมสู่การเข้าเรียน “ออกแบบแฟชั่น”
(ตัวอย่างภาพผลงานเด็กนักเรียนพื้นฐานวาดรูป)
4. ความคิดสร้างสรรค์ และพื้นฐานในการออกแบบและวาดรูป
นอกจากการมีแนวคิด คอนเซ็ปต์ที่ดีแล้ว ความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการวาดรูปเพื่อสื่อสารคอนเซ็ปต์ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียวกัน การเตรียมตัว พื้นฐานสำหรับการวาดเส้น การจัดองค์ประกอบ และการใช้สีต่างๆ เป็นสิ่งที่จำเป็นทั้งการสอบเข้าและการเรียนต่อในสาขานี้ เพื่อให้การวาดภาพของเราสื่อสารคอนเซ็ปต์ได้อย่างถูกต้องที่สุด
5. การสร้างสรรค์ผลงาน Portfolio
การทำ Portfolio เป็นการสื่อสารเรื่องราวของเราให้กรรมการรู้จัก การเล่าเรื่องราวที่ดี คือการแสดงเห็นถึงความสามารถ ศักยาภาพของเรา ที่มีความเหมาะกับสาขาที่ต้องการเข้าศึกษา สำหรับออกแบบแฟชั่นนั้น Portfolio เป็นสิ่งที่จะแสดงให้เห็น ทั้งคอนเซ็ปต์ ความสามารถในการวาดภาพ การออกแบบ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการนำเสนอความสามารถเหล่านี้ให้ทางคณะกรรมให้เห็นว่าเราสามารถเข้าไปเรียนในสาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำ Portfolio ต้องมีการเตรียมตัว และใช้เวลาในการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้นออกมา
มหาวิทยาลัยที่ไหนบ้างที่เปิดสอนหลักสูตรเกี่ยว ออกแบบแฟชั่น
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขามัณฑนศิลป์ สาขาแฟชั่นดีไซน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะศิลปะกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะมัณฑนศิลป์ สาขาออกแบบเครื่องแต่งกาย มหาวิทยาลัยศิลปากร
ข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างคณะและมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้องกับสาขาการออกแบบแฟชั่นเท่านั้น
การเตรียมตัวเข้าสาขาออกแบบแฟชั่นไม่ยากเกินกว่าความสามารถของน้องๆ ที่มีการเตรียมตัวมาอย่างดี ทั้งการวาดรูป กระบวนการคิด การฝึกฝนด้วยตัวเองนั้นทำได้ แต่บางครั้งอาจต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการแนะนำเพื่อให้เรารู้จุดด้อยของเรา เพื่อให้เราสามารถพัฒนาแก้ไขได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้การฝึกฝนทักษะ หรือการเรียนคอร์สติวออกแบบแฟชั่น ไม่ใช่เพียงการเน้นไปที่การติวเพื่อให้สอบติดเพียงอย่างเดียว การเรียนจะต้องเรียนเพื่อพัฒนาศักยภาพเพื่อให้สามารถเรียนในสาขาออกแบบแฟชั่นได้มีความสามารถและพัฒนาต่อยอดในสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องได้
จบสาขาออกแบบแฟชั่น เป็นอะไรได้บ้าง
- นักออกแบบแฟชั่น (fashion designer) ทำงานภายใต้แบรนด์ต่างๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนที่ชอบแบบไหน มีทั้งทำภายใต้แบรนด์เสื้อผ้า สำหรับเด็ก ผู้หญิง ผู้ชาย หรือแฟชั่นที่เฉพาะทางอย่างเสื้อผ้ากีฬา ฯลฯ หรือออกแบบเครื่องประดับตกแต่ง เช่น หมวก กระเป๋า รองเท้าเข็มขัด
- เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า (brand owner) การทำแบรนด์แฟชั่นของตัวเองคือการถ่ายทอดรสนิยมของตัวเองให้กับผู้อื่น ความสุขที่ได้เห็นผู้คนชื่นชอบและสวมใส่แบรนด์ของตัวเอง ทั้งนี้ขึ้นการทำแบรนด์ตัวเองต้องประกอบกับทักษะด้านการบริหาร ทั้งการศึกษาแบรนด์คู่แข่ง การดูความต้องการของตลาด
- ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น (fashion stylish) เป็นอาชีพในสาขาแฟชั่นที่อาจจะไม่ได้เห็นผลงานเสื้ือผ้าของตัวเอง แต่เป็นการใช้ความสามารถในการปรับลุค บุคลิกภาพ ทั้งการแต่งกาย การแต่งหน้า รวมถึงการทำผมในเหมาะกับคนในแต่คน ซึ่งในสายอาชีพนี้จะต้องอาศัยความเข้าใจในโจทย์ หรือคอนเซ็ปต์ เพื่อให้สร้างสรรค์สไตล์ที่มีความสวยงามเพื่อถ่ายทอดให้เหมาะสมกับโจทย์ที่สุด
- นักออกแบบลายผ้า (Surface Pattern designer) ผ้าคือองค์ประกอบของออกแบบแฟชั่น และเป็นส่วนหนึ่งในการสื่อสารเรื่องราวได้ขัดเจนที่สุด ไม่ว่าจะเป็นลายผ้า สีสันในการใช้
- นักบริหารจัดการในธุรกิจสิ่งทอ เพราะการเรียนด้านนี้ทำให้เราเข้าในหัวใจหลักออกการแบบการแต่งกาย เครื่องประดับ ที่มีแก่นที่แตกต่างกันในแต่ละแบรนด์ จึงทำให้สามารถบริหารและแข่งกันธุรกิจเกี่ยวกับแฟชั่นได้ โดยนักบริหารจัดการในธุรกิจสิ่งทอ มีหน้าที่ในการกำหนดแนวทาง แก่นของแบรนด์ ที่ต้องการสื่อสารผ่านแฟชั่น
การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการ “ออกแบบแฟชั่น” นอกจากความสวยงามแล้ว คอนเซ็ปต์และคาแร็กเตอร์ถือสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นการแสดงให้เห็นความแตกต่างเข้าใจถึงลักษณะเฉพาะแบรนด์ (brand identity) เพราะความสวยงามจะทำให้รู้สึกชอบเมื่อพบเห็น แต่คอนเซ็ปต์จะทำให้รู้สึกหลงไหลและรักในตัวผลงานของนักออกแบบแต่ละคน เพราะนอกจากการออกแบบในแบบที่นักออกแบบชอบแล้ว การทำงานในสายงานนี้คือการออกแบบให้ผู้คนชื่นชอบอีกด้วย นอกจากสายอาชีพเกี่ยวกับแฟชั่นแล้ว การเรียนในสาขานี้สามารถต่อยอดได้ในหลากหลายอาชีพทั้ง นักออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบกราฟิก นักออกแบบคาแรคเตอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความถนัดแล้วความสนใจพิเศษในแขนงอื่นของการออกแบบด้วย
หากน้องๆที่มีความหลงไหล (passion) อยากเข้าศึกษาต่อในสาขาออกแบบแฟชั่น และการสร้างสรรค์ผลงานของตัวเอง เรา virian academy of art ขอเป็นกำลังใจให้ความตั้งใจความพยายามของน้องประสบความสำเร็จทั้งการสอบติดในมหาวิทยาลัย และโอกาสหน้าที่การงานในอนาคต หากน้องๆต้องการฝึกฝนทักษะต่างๆเพื่อให้สอบติดอย่างที่ใจหวังสามารถปรึกษาเรา จากรุ่นที่มีประสบการณ์ในการสอบเข้า