สิ่งที่ควรรู้ก่อนเข้า นิเทศศิลป์

มีน้องๆหลายคน ที่ชื่นชอบศิลปะ ชื่นชอบการออกแบบ อยากจะออกแบบผลงานที่มีความเป็นตัวเอง ชอบในการใส่สไตล์ของตนเองเข้าไปเยอะๆ สร้างความโดดเด่น และ เป็นเอกลักษณ์ให้แก่ผลงาน สำหรับน้องๆที่อยากจะสอบเข้า นิเทศศิลป์ น้องๆควรที่จะรู้สิ่งที่น้องๆต้องเตรียมตัวให้ดี ก่อนที่น้องๆจะเข้าคณะนิเทศศิลป์ ว่าคนที่จะเข้าจะต้องมีการศึกษา เตรียมตัวอย่างไร ถ้าน้องๆอยากรู้ ไปอ่านในบทความกันเลย!!!

นิเทศศิลป์ กับการเตรียมตัว!!!

นิเทศศิลป์ คือ และ วิธีการสอบเข้า

ถ้าต้องอธิบาย นิเทศศิลป์ แบบกระชับและเข้าใจง่ายที่สุดก็คือ

  • การสื่อสาร โดยสารที่เราจะสื่อสามารถรับรู้มันได้ผ่านการมองเห็น
  • ผู้ที่เรียนนิเทศศิลป์จะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ออกแบบภาพต่างๆ ให้ตรงกับสารที่ต้องการจะสื่อมากที่สุด
  • สิ่งที่ควรคำนึงมากและคนที่เรียนสายนี้ส่วนใหญ่มักจะติดกับดักอยู่เรื่องนึงก็คือ รูปแบบการนำเสนอ มาก่อนสารที่ต้องการจะสื่อ
  • ซึ่งบางครั้งทำให้คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่า แค่ทำภาพให้ออกมาสวย ก็เพียงพอต่อการออกแบบนิเทศศิลป์
  • ซึ่งในที่นี้มองว่าการทำแบบนั้นมันเป็นเพียง คนที่เลือกใช้คำพูดที่น่าฟังแต่พูดไม่รู้เรื่อง
  • การออกแบบนิเทศศิลป์ที่ดีนั้น ต้องเริ่มจากสารที่ดีก่อนไม่ใช่แค่การทำภาพให้สวย
  • ควรจะคิดถึงผู้รับสารเป็นหลักว่า เค้าเป็นคนยังไง มีบุคคลิกแบบไหน ชอบอะไร มีความสนใจแบบไหน ถึงจะเริ่มเลือกเครื่องมือของเราได้ว่า เครื่องมือแบบไหนที่จะเหมาะกับคนแบบนั้นและเครื่องมือแบบไหนเหมาะกับสารที่เราจะสื่อ ถึงจะเรียกได้ว่า นั้นคือการออกแบบนิเทศศิลป์ที่ดี

ตัวอย่างเช่น ถ้าโจทย์ได้รับเป็นการออกแบบปกหนังสือการ์ตูน Toy story สิ่งที่ควรจะคิดถึงก่อนคือ ใครเป็นผู้รับสารนั้น จะเป็นพ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆ หรือว่าต้องการให้เด็กดู ซึ่งต้องกำหนดให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น พอได้กลุ่มที่ต้องการสื่อชัดเจนแล้วหลังจากนั้นจึงค่อยลงมือออกแบบ การออกแบบจะง่ายขึ้นมากหากเรารู้ว่าผู้ที่ต้องการสื่อสารคือใคร สมมุติเราต้องการสื่อสารกับเด็ก ภาพๆนั้นควรเป็นภาพที่เด็กรู้สึกสนใจ ฟ้อนในภาพควรเยอะควรน้อยขนาดไหนและถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ต้องเลือกให้ถูกว่าควรใช้ฟ้อนแบบไหน ซึ่งความจริงแล้วอาจไม่ต้องมีฟ้อนอะไรมากมายเลยก็ได้ แต่ถ้าสมมุติกลุ่มที่เราต้องการจะสื่อสารด้วยนั้นเป็นเหล่าคุณพ่อคุณแม่ ภาพที่ใช้ ฟ้อนภายในภาพก็จะต้องสามารถจูงใจให้พ่อแม่เหล่านั้นรู้สึกว่าอยากพาลูกไปดูให้ได้ และสิ่งที่ควรรู้ไม่น้อยไปกว่ากันเลยคือ รู้ว่าเรานั้นเหมาะกับการเล่าเรื่องแบบไหน เพราะฉนั้นการออกแบบนิเทศจึงไม่ใช่แค่การรู้จักกลุ่มเป้าหมายที่จะสื่อสารด้วย หรือรู้จักสารที่เราจะสื่ออย่างดี แต่ต้องรู้จักตัวเองด้วยจะเราถนัดในการนำเสนอแบบไหน

การเตรียมตัวเข้าศึกษา

  • ในช่วงแรกจะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของศิลปะในด้านต่างๆ เช่น การเข้าใจในทัศนธาตุต่างๆว่ารูปทรงแบบไหนให้ความรู้สึกยังไง หลักการในการจัดองค์ประกอบศิลป์ การเข้าใจ mood&tone ของภาพ การใช้ทฤษฎีสี
  • หลังจากนั้นจะเป็นการทำความเข้าใจของเรื่อง massage ที่จะสื่อสารในงานของแต่ละคนซึ่งเป็นสิ่งสำคัญของนักออกแบบนิเทศศิลป์ ที่ทำให้ผลงานนั้นๆมีความแตกต่างและสามารถเล่าเรื่องได้อย่างไม่หลงประเด็น ทำให้ผลงานของผู้เรียนนั้นไม่ใช่เพียงแค่ภาพที่สวยงาม แต่เป็นภาพที่สามารถสื่อสารได้ด้วย หลังจากนั้นจะเริ่มเรียนรู้ถึงหลักการออกแบบพื้นฐานที่มักพบเห็นได้บ่อยในงานนิเทศศิลป์เช่น การออกแบบตัวหนังสือ โลโก้ การจัดวาง การฝึกการวิเคราะงานออกแบบเพื่อใช้ในการพัฒนาผลงานของตัวเอง
  • แล้วสายงานของคนเรียนนิเทศศิลป์มีอะไรบ้าง ที่คนมักจะเข้าใจแบ่งได้หลักๆ 2 สาย คือสายภาพประกอบ กับสายกราฟฟิค ซึ่งความจริงมันได้มีแค่นั้น นิเทศศิลป์นั้นอยู่รอบตัวเราแทบทุกที่ ทุกเวลา เช่น ตอนที่คุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่ ตำแหน่งตัวหนังสือ ระยะห่างของตัวหนังสือว่าต้องห่างขนาดไหนในระยะเท่าไรถึงจะอ่านง่ายที่สุด หรือบางครั้งเพจใน facebook ที่มีการเล่าเรื่องต่างๆที่ดูตลกดูสนุกแต่แอบสอดแทรกสินค้าต่างๆเอาไว้ เหล่านั้นก็ใช้ความรู้ของทางนิเทศศิลป์ทั้งสิ้น หรือจะเป็นโฆษณาที่มีการกำกับภาพที่สวยงามคนที่มีหน้าที่คุมทิศทางภาพรวมของงานศิลป์ในนั้นก็จำเป็นต้องใช้ความรู้ของนิเทศศิลป์เช่นกัน หรือจะเป็น ป้ายโฆษณา ป้ายBillboard โปสเตอร์ หน้าปกหนังสือ การจัด Lay out ออกแบบตัวอักษร ออกแบบรูปเล่ม ถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็น ถ่ายแบบแฟชั่นลงในนิตยสาร ถ่ายภาพโฆษณา ถ่ายวิดีโอ หรือจะเป็น โลโก้ต่างๆ ไม่ว่าจะธุรกิจไหนหรือองค์กรอะไรมักจะต้องมีอัตลักษณ์องค์กรทั้งนั้น แม้แต่ลูกศร ป้ายบอกทาง ป้ายห้องนำ้ (Sign Systems)
  • ทั้งหมดที่กล่าวมาในจำเป็นต้องใช้ความรู้นิเทศศิลป์ทั้งสิ้น จริงๆยังมีอีกมากมายที่ไม่ได้กล่าวไป เรียกได้ว่าเป็นเป็นสายงานที่มีความหลากหลายมาก ยิ่งในปัจจุบันเราเริ่มใช้เวลาบนโลก internet มากขึ้น ลองคิดดูนะครับเราใช้ internet เข้า facebook ได้ผ่านการมอง นั่นแปลว่าสิ่งที่คุณเห็นแทบทุกอย่างในนั้นก็คือนิเทศศิลป์นั่นเอง ฉนั้นการบอกว่านิเทศศิลป์นั้นเรียนจบไปแล้วทำอะไรนั้นเป็นเรื่องที่ยาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าตัวผู้เรียนนั้นจะนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดกับความสนใจของผู้เรียนยังไงมากกว่า

นิเทศศิลป์ คือ และ วิธีการสอบเข้า

วิธีสอบเข้า คณะมัณฑณศิลป์ สาขานิเทศศิลป์

  • สำหรับผู้ที่มีความสนใจ ที่จะเข้าเรียนสาขานี้ สิ่งจะต้องมีเป็นอย่างเเรกคือความรักในการวาดรูป เพราะถ้าหากไร้ซึ่งความรักที่จะวาด มันก็ไม่ต่างอะไรกับการที่เราหมดเป้าหมายที่จะเข้าคณะนี้เเล้ว
  •  สำหรับวิธีการสอบ สิ่งที่เราต้องมีคือความขยันความอดทนต่ออุปสรรคต่างๆที่กำลังจะเข้ามา ต้องฝึกฝนซำ้ๆดูงานต่างๆให้มากๆเเละหลากหลาย ทั้งดรออิ้งก็ดี นิเทศศิลป์ก็ดี เเละสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การเหลาดินสอให้พร้อมในการดรออิ้งอยู่อย่างสม่ำเสมอ อุปกรณ์ต้องมีให้ครบอย่าให้ขาด เพราะการสอบของคณะมัณฑณศิลป์นั้นขึ้นชื่อว่ายากอยู่เเล้ว การเตรียมความพร้อมในการสอบจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก
  • การเตรียมความพร้อม นั้นคือสิ่งที่ทุกคนต้องมีเเละจะประมาทไม่ได้เป็นอันเด็ดขาด เพราะการที่เราเตรียมความพร้อมที่จะสอบอยู่อย่างสม่ำเสมอเพียงเเค่นี้เราก็มีชัยไปกว่าครึ่งเเล้ว เพราะหลากหลายคนที่คิดว่าตนเองมีฝีมือเเล้วหรือเก่งเเล้วนั้น มักจะปล่อยตัว ทำตัวสบาย เพราะคิดว่าตนเองเเน่เเล้วมั่นใจมากว่าทำได้เเน่ นั้นคือสิ่งที่ผิดพลาดอย่างมหันต์ สิ่งที่ควรจะทำคือฝึกอยู่ตลอดเวลาให้เป็นกิจลักษณะตลอด ทั้งนี้เพื่อให้เป็นผลดีตลอดไปในภายภาคหน้า
  • การติดตามรับฟังข่าวสาร เป็นสิ่งที่จะขาดไปไม่ได้เช่นกัน เพราะการที่เราติดตามข่าวสารของทางคณะอยู่ตลอดเวลาจะทำให้เราได้รู้ข้อมูลเเละพร้อมในการสอบ 

เว็ปไซต์ต่างๆที่เกี่ยวกับการเตรียมเข้าศึกษาเเละสมัครสอบ

  สำหรับช่วงเวลาการสอบ โดยส่วนมากเเล้วทางคณะมักจะเปิดด้วยกันอยู่ 2 รอบเป็นหลัก คือ

  • รอบ 1 คือ รอบเเฟ้มสะสมผลงาน หรือที่รู้จักกันในชื่อ รอบPortfolio – ในรอบนี้เราจะต้องมีผลงานการวาดต่างๆที่เราได้ฝึกฝนมาอยู่ตลอด ทั้งดรออิ้งเเละนิเทศศิลป์ เเละเป็นผลงานที่ดูดีเเละสื่อสารได้อย่างเข้าใจ ระยะเวลาการรับสมัครจะอยู่ในช่วงเดือน ธันวาคม
  • รอบ 2 คือ รอบโควตา เป็นรอบที่เปิดขึ้นให้สำหรับผู้ที่พลาดโอกาสในรอบเเรก 

โดยเกณฑ์มักจะมีด้วยกันอยู่ 6 เกณฑ์  (ระยะเวลาในการสมัครจะอยู่ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์)

  1.  โควตานักเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
  2. โควตาสายอาชีวศึกษาที่มีการเรียนการสอนทางด้านศิลปะเเละการออกเเบบ
  3. โควตา 28 จังหวัด มหาลัยวิทยาลัยศิลปากร
  4. โควตาผู้มีความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นทั่วไทย
  5. โควตาผู้มีความสามรถด้านศิลปะไทยโบราณ
  6. โควตาบุตรผู้ปกครองที่เป็นเจ้าของสถานประกอบการอุตสาหกรรม หรือธุรกิจเครื่องประดับ

ทางด้านกิจกรรมที่สำคัญต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันเพราะเป็นอีกสิ่งที่เป็นตัวชี้วัดว่าเรามีความตั้งใจขนาดไหนที่เราจะเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยเเห่งนี้ เมื่อใดที่มีกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับมหาลัย หรือ ตัวคณะเองก็ตาม ต้องรีบเข้าร่วมให้ได้ตลอด โดยส่วนมากทางด้านกิจกรรมจะมีกิจกรรมสำคัญที่ต้องเข้าร่วมให้ได้ถึง 2 

กิจกรรม ได้เเก่

  1.กิจกรรม Open House ในกิจกรรมนี้จะเป็นการบอกเกี่ยวกับตัวมหาลัยเเละคณะต่างๆที่เราสนใจ

  2.กิจกรรม อบรมเชิงปฎิบัติการ “การทำผลงานด้านศิลปะการออกเเบบส่วนบุคคล :Young Dec Camp” 

กฎเกณฑ์เเละรายละเอียดต่างๆในการประเมินผลงาน โดยส่วนมากเเล้วการส่งผลงานในรอบที่ 1  นั้นสำคัญเป็นอย่างมาก โดยสิ่งที่จะต้องมีหลักๆคือ งานดรออิ้ง 5 ชิ้น เเละ งานนิเทศศิลป์ 5 ชิ้น เป็นต้น เเละเอกสารต่างๆที่ทางมหาลัยได้กำหนดไว้ ในบางครั้งเกณฑ์ก็อาจจะมาตั้งเเต่รอบอบรมเเล้ว ทางอาจารย์อาจจะวัดความสามารถตั้งเเต่รอบอมรมอยู่เเล้วจึงห้ามพลาดในรอบอบรมอย่างเด็ดขาด ต้องขยันที่จะฝึกซ้อมให้มีความตั้งใจอยู่เสมอเเละมาร่วมเข้ากิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับทางคณะให้ได้ตลอดๆ

นิเทศศิลป์ คือ และ วิธีการสอบเข้า

 


สามารถติดต่อเราได้ที่นี่
ครูอะไหล่
เบอร์โทรศัพท์ : 083-615-2391
Facebook : viridian academy of art
Line : @viridian
Instargram : viridian academy of art 
Email : viridian.academy.2019@gmail.com

หรือ จากปุ่มมุมขวาล่าง

 

บทความที่เกี่ยวข้อง