ติว สถาปัตย์ มีอะไรบ้างนอกจาก Pat 4 ?

นักเรียนที่สนใจว่าการเตรียมตัวที่จะ “ติว สถาปัตย์” เพื่อเข้าคณะสถาปัตยกรรมนั้น นอกจากที่เรารู้ๆกันอยู่แล้วว่าต้องมีการสอบ “Pat 4″  และ นอกเหนือจากนั้นละว่ามีการสอบอะไรบ้างทั้ง รับตรง สอบตรง และ แอดมิดชั่น ซึ่งการเตรียมตัวที่จะเข้ามหาลัยวิทยาลัย “คณะสถาปัตยกรรม” นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิดแต่อาจจะต้องมีการเตรียมความที่ดี บวกกับ การวางแผนล่วงหน้า ทั้งนี้ไปดูรายละเอียดที่จำเป็นต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อ “ติว สถาปัตย์” ได้เลย

การเตรียมตัวเพื่อสอบเข้าคณะสถาปัตยกรรม

ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะการสอบเข้าคณะสถาปัตย์ในสาขาที่เกี่ยวข้องโดยตรง คือ สถาปัตยกรรมหลัก, ออกแบบภายใน, ภูมิสถาปัตย์, สถาปัตยกรรมไทย และออกแบบผังเมืองเท่านั้น เนื่องจากสาขาหลักเหล่านี้มีเงื่อนไขการรับเข้าเรียนในแต่ละสถาบันไม่ต่างกันมากนัก ในส่วนคะแนนของวิชาสามัญและวิชาการอื่นๆ อาจจะต้องเช็ครายละเอียดของแต่ละสถาบันดูเป็นรายปี เนื่องจากแต่ละสถาบันก็มีเงื่อนไขต่างกันไป รายละเอียดต่างๆก็เปลี่ยนไปแทบทุกปี แต่ในส่วนวิชาเฉพาะแต่ละสถาบันนั้นคล้ายคลึงกัน วิชาเฉพาะที่ใช้สมัครเข้าเรียนจะอยู่ในรูปแบบที่ต่างกัน 3 รูปแบบคือ

  1. สอบวิชา PAT 4 เพื่อใช้ยื่นคะแนน
  2. การสอบตรงวิชาเฉพาะความถนัดทางสถาปัตยกรรม แยกสอบแต่ละสถาบัน
  3. Portfolio เพื่อยื่นสมัครเข้าคัดเลือก

 

เค้าสอบอะไรกัน

เนื่องจากการทำงานสถาปัตย์ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจที่หลากหลายรวมกัน สิ่งเหล่านี้จึงปรากฏให้เห็นในการสอบ ซึ่งประกอบด้วยหมวดต่างๆที่มากมายหลากหลายข้อ ต่างจากคณะออกแบบอื่นๆ ที่หลักๆจะเป็นข้อสอบวาดเส้น 1 งาน และวิชาออกแบบตามสาขาของตัวเองอีก 1 งาน ข้อสอบ PAT 4 กับข้อสอบสอบตรงจะมีความคล้ายคลึงกัน แบ่งเป็นหมวดๆได้ดังนี้

  1. ข้อสอบปรนัย หรือแบบเลือก choice กขคง (วัดความรู้)
    ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ ปรนัย
    ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ ปรนัย
    ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ ปรนัย
    แบ่งเป็นความรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมทั่วไป เช่น สถาปนิกหรืองานสถาปัตยกรรมที่สำคัญที่ควรรู้จัก หลักความรู้ “เรื่องลม , เรื่องแดด ,  ความร้อน ,  เสียง” การจัดวางพื้นที่ใช้สอยที่สัมพันธ์กัน กฎหมายอาคาร หลักการประหยัดพลังงาน และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปัตยกรรม ศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย หลักการรับแรง (ฟิสิกส์) และที่ออกเยอะใน PAT 4 ถึง 30% ของ choice ทั้งหมดคือเรื่องมิติสัมพันธ์ การหาความเชื่อมโยงระหว่างภาพเรขาคณิต ลักษณะคล้ายๆข้อสอบวัด IQ โดยโจทย์ให้รูปมา 4-9 รูปโดยเว้นไว้รูปหนึ่ง ถามว่ารูปที่เว้นไว้คือรูปไหน ในส่วนนี้ต้องหาข้อสอบฝึกทำ และหากมีคนที่สามารถแนะนำวิธีการมองให้ออกได้ จะสามารถเข้าใจได้ง่ายและเร็วขึ้นมาก ส่วนความรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมทั่วไปสามารถหาอ่านได้จากหนังสือติวสถาปัตย์ที่ขายตามท้องตลาดซึ่งมีอยู่หลายเล่ม แต่ก็ต้องอ่านอย่างระมัดระวัง เพราะเนื้อหาไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด แต่ละเล่มแต่ละสำนักบางเรื่องก็ขัดแย้งกัน ทางที่ดีควรเทียบเคียงกันหลายเล่ม และหาที่ติวที่สามารถให้ความรู้ที่ถูกต้องได้จะดีกว่า

 

  1. ข้อสอบ Isometric (วัดความเข้าใจมิติสัมพันธ์ 2D-3D และแสงเงา)
    ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ Isometric
    ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ Isometric

    มีทั้งข้อสอบแบบเป็น choice ให้เลือกรูปที่ถูก และแบบที่ให้เราวาดขึ้นมาซึ่งเป็นข้อใหญ่ คะแนนเยอะ ปกติแล้วโจทย์จะให้รูป 2มิติ ด้านต่างๆประมาณ 2-3 ด้านให้เราวาดเป็นรูปทรง 3 มิติในรูปแบบที่มองเฉียงๆ จากบนลงล่างที่เรียกว่า Isometric ข้อสอบช่วงหลังๆจะให้เราวาดเงาที่เกิดขึ้นจากแสงที่ส่องผ่านวัตถุตัวนี้ด้วย การหาพื้นที่ที่เป็นเงานี้มีหลักการที่ถูกต้องซึ่งมีความยากพอสมควรทีเดียว ตัววัตถุที่โจทย์ให้มักจะมีรูปทรงซับซ้อนพอสมควร น้องๆจำเป็นต้องฝึกทำโจทย์ Isometric ที่ระดับความยากเดียวกับข้อสอบ จำนวนมากพอที่จะทำให้เห็นภาพและวาดออกมาได้อย่างรวดเร็ว

 

  1. ข้อสอบ Graphic design (ออกแบบ 2 มิติ)
    ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ Graphic design ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ Graphic designโจทย์เป็นงาน design สัญลักษณ์ logo หรือ symbol ซึ่งอาจจะเป็นเงาขาวดำ หรือสีก็ได้ มักจะมีจำนวน 4-6 ข้อย่อย ใช้หลักการเหมือนการออกแบบนิเทศ์ศิลป์ แต่ไม่ซับซ้อนมากนัก เน้นความชัดเจนในการสื่อสาร เส้นสายรูปร่างสอดคล้องกันมีจังหวะที่สวยงาม การทำข้อสอบแบบนี้ต้องระวัง เพราะมักจะใช้เวลาในการคิดเยอะ แต่คะแนนรวมแล้วค่อนข้างน้อย ช่วงหลังๆมานี้จะมีโจทย์อีกรูปแบบหนึ่งเพิ่มเข้ามา โดยจะให้หน้ากระดาษตีตารางเป็นช่องรูปร่างต่างๆมา แล้วให้เราลงน้ำหนักขาวเทาดำเป็นรูปต่างๆตามที่โจทย์กำหนด การตรวจก็เน้นที่ความชัดเจนในการสื่อว่าเป็นรูปตามที่โจทย์ต้องการหรือไม่เป็นหลัก หากงานมีความสวยงาม มีการสร้างสรรค์ในการใช้น้ำหนักตามช่อง ให้ได้จังหวะที่น่าสนใจ แตกต่างจากคนอื่นชัดเจนก็มีโอกาสที่จะได้คะแนนสูง

 

  1. ข้อสอบ Sketch design (ออกแบบ 3 มิติ)
    ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ Sketch design ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ Sketch design ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ Sketch designโจทย์เป็นงาน design สิ่งใช้สอย ตั้งแต่ขนาดเล็กประเภท product design จำพวกของใช้ furniture เช่น นาฬิกาปลุก เก้าอี้ จนถึงงาน design ขนาดกลาง ประเภทยานพาหนะ อาคารชั่วคราวขนาดเล็กๆ เช่นซุ้มขายของ ไปจนถึงอาคารขนาดเล็ก ประเภทบ้านพักตากอากาศ โดยโจทย์จะมีปัญหาให้แก้ หรือมีความต้องการเฉพาะบางอย่าง ผลงานที่ได้ออกมาควรมีความพิเศษแตกต่างจากของสามัญธรรมดา แก้ปัญหาได้อย่างฉลาดตรงจุดที่โจทย์ต้องการ ยกตัวอย่างโจทย์ เช่น จงออกแบบรถตุ๊กๆที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นที่พักสำหรับคนขับได้, จงออกแบบเก้าอี้ที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นเตียงนอน โดยให้รูปแบบมีที่มาจากสัตว์ทะเล, จงออกแบบบ้านพักในอุทยานแห่งชาติภูกระดึง บนลานที่ด้านหนึ่งใกล้หน้าผา อีกด้านหนึ่งใกล้ลำธาร โดยให้ออกแบบเป็นอาคารที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ สามารถพักได้ 8 คน 

 

  1. ข้อสอบ Perspective
    ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ Perspective
    ติว สถาปัตย์ และ Pat 4 ข้อสอบ Perspective

    โจทย์จะระบุเหตุการณ์ เวลา สถานที่ บุคคลต่างๆ โดยให้รายละเอียดจำนวนมาก อาจจะระบุถึงว่าเราคือใคร กำลังทำอะไรอยู่ตรงไหนในเหตุการณ์นั้น หรือ อาจจะไม่ระบุก็ได้
    การให้คะแนนงานจะเน้นที่หลายจุด ได้แก่ความครบถ้วนถูกต้องตามโจทย์ ความถูกต้องของ “perspective” “สัดส่วนของคน” “วัตถุ” และ “สิ่งต่างๆในภาพ” รายละเอียด ประกอบกับ บรรยากาศให้ความรู้สึกสมจริงหรือไม่ ,  ความสวยงามของเส้นสายการวาด ,  การสร้างสรรค์มุมมองและรายละเอียดที่น่าสนใจ โดดเด่นจากคนอื่นมีผลต่อคะแนนโดยตรง นอกจากนี้ต้องมีความรู้ทางศิลปะวัฒนธรรม และ มีจินตนาการ เพราะโจทย์อาจจะให้วาดเหตุการณ์ และ สถานที่ที่แปลกไปจากชีวิตประจำวัน เช่น เหตุการณ์อาจจะเกิดในปราสาทยุโรปยุคกลาง หรือเกิดในสถานีอวกาศขนาดยักษ์ในปี คศ.2100 ไม่ว่าโจทย์จะให้อะไรมาก็ต้องวาดได้หมด

 

เตรียมตัวยังไงดี

หลักๆเลยคือต้องมีเวลาและความทุ่มเทให้การเรียนรู้และฝึกฝน น้องๆบางคนที่มีข้อจำกัดมาก ประมาณว่ามีงานที่โรงเรียนมาก ต้องทำงานส่งอันนั้นอันนี้ ต้องทำเกรดที่โรงเรียน ต้องไปเที่ยวกับที่บ้านนั่นนี่ ยังไงก็ไม่จัดการเวลาชีวิตตัวเอง ยังไงก็มีเวลาให้เท่านี้แหละ และคนที่ประมาณว่าแค่มาเรียนให้จบๆ โดยคิดว่าแค่ได้เรียนแล้วก็น่าสอบติดได้ โดยตัวเองไม่พยายามเรียนรู้ฝึกฝนเพิ่มเติมด้วยตนเองเลย คนจำพวกนี้ถ้าไม่เก่งผิดมนุษย์บวกกับดวงดีโชคช่วยจริงๆ อย่าหวังเลยว่าจะสอบได้ สมัยนี้ยังมีน้องๆหรือผู้ปกครองบางคนที่ยังคิดว่าถ้าเรียนวิชาการไม่เก่ง ก็ให้เรียนสายศิลปะและออกแบบแทนเพราะคิดว่าเรียนง่ายกว่า ขอบอกเลยว่าเป็นความคิดที่ผิดอย่างแรง อย่ากระนั้นเลย มาดูกันดีกว่าว่าควรจะทำยังไงให้สามารถผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนคณะสถาปัตย์ได้

  1. หาเวลาให้เพียงพอ การฝึกและเรียนรู้ความถนัดสถาปัตย์ ยังไงก็ต้องใช้เวลาในการฝึกซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง มีน้องๆหลายคนมาสมัครเรียนก่อนสอบ 4 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง สมมติว่า 6 เดือน มีเวลาเรียนสัปดาห์ละ 3 ชม. เท่ากับ 6เดือน x 4สัปดาห์ x 3ชม. = 72 ชม. ลองกลับไปอ่านดูนะครับว่า การสอบเข้าจะต้องฝึกต้องเรียนรู้อะไรบ้าง มันเยอะมากนะครับ มันแทบเป็นไปไม่ได้สำหรับเวลาแค่ 72 ชม. เวลาที่เหมาะสมแบบคร่าวๆคือประมาณ 1ปี ถึง 1ปีครึ่งก่อนสอบหรือก่อนส่ง portfolio โดยใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละ 3 ชม. และใช้เวลาฝึกตามที่เรียนมาในแต่ละสัปดาห์ อย่างน้อยทุกวัน วันละ 1 ชม. รวมแล้วควรจะใช้เวลาเรียนและฝึก 12เดือน x 4สัปดาห์ x 3+6ชม.= 432 ชม. หากใช้เวลาได้ตามนี้ จะมีโอกาสสอบติดและเรียนจบได้สูงมาก สำหรับบางคนที่มาเรียนตอนใกล้สอบแล้วยังสามารถสอบติดได้ ปรากฎว่าหลายคนไม่สามารถเรียนได้ ต้องซิ่วออกตั้งแต่ปีแรกจำนวนมาก ฉะนั้นคำแนะนำสำหรับคนที่คิดจะเข้าคณะสถาปัตย์คือ เริ่มเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ อย่างน้อย 1 ปีก่อนสอบที่จะต้องละทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็น และมีเวลาให้ชีวิตส่วนตัวน้อยลง อาจจะต้องลดความสำคัญในการเรียนวิชาสามัญลง โดยช่วงนี้จะเป็นเวลาที่ต้องอุทิศตัวให้การเรียนและการฝึก เพื่อเปลี่ยนนิสัยบางอย่างจากคนธรรมดาให้เป็นนิสัยและพฤติกรรมเฉพาะของ นักออกแบบ
  2. มีวินัยในการฝึกฝน เมื่อหาเวลาเริ่มเรียนได้แล้วคือการหาเวลาฝึกที่เพียงพอและสม่ำเสมอ เนื่องจากสายออกแบบทั้งหมดจะเป็นงานปฎิบัติแบบเข้มข้นทั้งสิ้น การเรียนในเวลาเรียน ครั้งละ 3 ชม. สอนได้เพียงความรู้ความเข้าใจแนวความคิด และวิธีวาดวิธีออกแบบเท่านั้น การรู้ในหัวสมองอย่างเดียวไม่สามารถทำให้น้องๆวาดหรือออกแบบได้จริงๆ ต้องประกอบกับการฝึกฝน ทำซ้ำๆ แล้วนำผลงานจากการฝึกมา comment จากผู้สอน เพื่อแก้ไขจุดที่ยังไม่ดี พัฒนางานให้ได้งานที่ดีขึ้น
  3. ฝึกนิสัยเป็นคนละเอียด ใส่ใจทุกอย่าง เนื่องจากการสอบให้ความสำคัญกับความถูกต้องตามโจทย์มากๆ แม้ว่าผลงานจะดีงามแค่ไหน หากผิดไปจากสิ่งที่โจทย์กำหนดแม้เพียงเล็กน้อยจะมีผลให้โดนหักคะแนนทันที ยิ่งผิดหลายจุด หรือผิดในจุดที่สำคัญมากๆอาจจะทำให้ข้อนั้นๆถูกหักคะแนนมากจนแทบจะไม่ได้คะแนนเลย
  4. ช่างสังเกตุสิ่งต่างๆรอบตัว เป็นนิสัยที่สำคัญสำหรับนักออกแบบที่แตกต่างจากคนทั่วๆไปอย่างชัดเจน การสังเกตุสิ่งรอบตัวจะทำให้จดจำรายละเอียดต่างๆไว้ใช้ในการออกแบบ และการทำงานได้ เช่น ข้อสอบอาจจะให้วาด perspective ร้านก๋วยเตี๋ยวรถเข็นริมถนน หากเราไม่เคยสังเกตุของจริงในชีวิตประจำวันเลย ย่อมไม่มีทางที่จะวาดออกมาได้ใกล้เคียงความเป็นจริง
  5. ดูงานเยอะๆ ทั้งดูงานออกแบบ ดูหนังดีๆ ไปเที่ยวสถานที่ดีๆต่างๆ ไปดูเทศกาลศิลปะ เทศกาลงานออกแบบต่างๆ หาความรู้ ศึกษาศิลปะวัฒนธรรม เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลมาใช้ในงานตัวเอง การออกแบบที่แท้จริงไม่ใช่การนั่งนึกคิดออกมาจากความว่างเปล่า แต่เป็นผลรวมที่เกิดจากการผสมผสานสิ่งที่เห็นมา และประสบการณ์ต่างๆจำนวนมาก เพื่อให้งานออกแบบน่าสนใจ มีความลึกซึ้ง มีที่มาที่ไป คนที่มีข้อมูลในหัวน้อยจะเสียเปรียบมาก ควรฝึกให้มีความสนใจ และเสพงานออกแบบมากๆจนเป็นนิสัย ยิ่งในยุคนี้เราสามารถหาดูงานออกแบบได้ง่ายๆจาก internet เช่น pinterest , instragram และเวปงาน design อื่นๆ
  6. มีมาตรฐานสูง เนื่องจากงานสถาปัตย์วัดกันที่คุณภาพของงานเป็นสำคัญ การทำงานและฝึกฝนควรมุ่งไปที่ผลงานที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในทุกชิ้น และพัฒนาให้ดีขึ้นในชิ้นต่อไปเรื่อยๆ น้องๆต้องฝึกประเมินงานของตัวเองว่ามีจุดด้อยตรงไหน ยังปรับอะไรให้ดีกว่าที่เป็นอยู่ได้บ้าง จะสามารถพัฒนาฝีมือได้เร็วกว่าการรอ comment จากพี่ๆเพียงอย่างเดียว สำหรับบางคนที่มีมาตรฐานการทำงานสูงและรู้จักสังเกตุเรียนรู้จากงานนักออกแบบที่เก่งๆด้วยตนเอง ก็จะสามารถฝึกตัวเองจากการทำงานโดยไม่ต้องติวเลยก็เป็นไปได้

มองโลกตามที่เป็นจริง และมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับชีวิตและการทำงาน น้องๆหลายคนมีปัญหาเรื่องมุมมองที่ผิดเพี้ยนบิดเบี้ยว เช่นบางคนทำงานได้ไม่ดี คิดงานไม่ออก ก็เสียกำลังใจ ยิ่งเปรียบเทียบงานตัวเองกับงานเพื่อนแล้วสู้ไม่ได้ ยิ่งเสียความมั่นใจ คิดว่าตัวเองไม่เก่ง เรียนไม่ได้ ไม่อยากสู้ต่อ ความรู้สึกเศร้าซึม รู้สึกด้อยย่อมมีผลต่อการฝึกฝนเรียนรู้ ในความเป็นจริงเราด้อยกว่าเพื่อนเมื่อเทียบกันที่ผลงานก็เป็นสิ่งที่ควรยอมรับความจริง แต่ความจริงอีกด้านคือ เรายังมีเวลามีโอกาสจะแก้ไขพัฒนาตัวเอง เมื่อมองแบบนี้ก็จะเห็นความเป็นไปได้ที่จะเก่งขึ้นจนเท่าเทียมกับเพื่อนหรืออาจจะเก่งกว่าได้ในอนาคต การมองแบบนี้ย่อมให้ความรู้สึกฮึกเหิม อยากต่อสู้ อยากฝึกให้เก่งขึ้น หากมองลงไปในรายละเอียดก็จะยิ่งเห็นจุดที่เราด้อยกว่าเป็นข้อๆ ทำให้เราสามารถแก้ไขพัฒนาตัวเองได้ถูกจุด โดยปกติแล้วอารมณ์หดหู่ท้อแท้ เศร้าซึมต้องมีบ้างจากการทำงานไม่ได้ตามที่หวัง ไม่จำเป็นต้องไปปฎิเสธหรือกำจัดมันออกไป ควรจะรับรู้มันตามที่เป็นจริง แต่ระวังไม่ให้จมลงไปในอารมณ์นั้น พยายาม focus ไปที่สิ่งที่ควรจะทำเพื่อพาตัวเองให้พ้นไปจากจุดที่แย่ๆ

 

 


สามารถติดต่อเราได้ที่นี้
ครูอะไหล่
เบอร์โทรศัพท์ : 083-615-2391
Facebook : viridian academy of art
Line : @viridian
Instargram : viridian academy of art 
Email : viridian.academy.2019@gmail.com

หรือ จากปุ่มมุมขวาล่าง

บทความที่เกี่ยวข้อง